What is the APEC Women and the Economy Summit?
- The Asia Pacific Economic Cooperation (APEC) Women and the Economy Summit (WES) is the premier event bringing together senior private and public sector players for a dialogue on fostering women’s economic empowerment among the APEC economies. - It takes place September 13 -16 in San Francisco, California.
- The WES has three components: public-private meetings on key issues for women’s empowerment; the APEC Policy Partnership on Women and the Economy (PPWE), and the High-Level Policy Dialogue (HLPD) on Women and the Economy.
- The Policy Dialogue of the Summit is expected to support a set of policy recommendations that will be delivered to the APEC Economic Leaders’ Meeting, scheduled for November 12-13, 2011 in Honolulu, Hawaii.
What are the goals of WES?
The goals are:
-To pursue concrete policy recommendations through PPWE and HLPD and projects to increase women’s economic participation and drive economic growth in the Asia-Pacific region; and
-To present a program that is aspirational, inspirational and practical.
What issues will be discussed?
-The policy framework for discussion will encompass four issues: access to finance, access to markets, capacity and skills building, and women’s leadership.
-To complement the proposed policy framework, the WES will also address innovation, green growth, technology, entrepreneurship, and public-private partnerships.
Who should attend WES?
-This event is designed for private sector leaders representing multinational corporations, small and medium enterprises (SMEs), academia and civil society as well as for senior government officials responsible for setting international, economic, trade, and SMEpolicies.
What is the APEC Policy Partnership on Women and the Economy?
-The APEC Policy Partnership on Women and the Economy (PPWE) is what United States has proposed to combine the strength of the Gender Focal Point Network (GFPN), an official APEC sub-forum, and the private sector-oriented Women Leaders Network (WLN). It was agreed upon at the Senior Officials Meeting on May 18, 2011 in Big Sky, Montana.
- The PPWE will elevate and streamline gender work in APEC to champion the economic empowerment of women and to deepen public and private sector cooperation in this effort.
- The PPWE will draft policy recommendations which will be discussed at the High-Level Policy Dialogue (HLPD) on Women and the Economy.
What is the High-Level Policy Dialogue on Women and the Economy?
- As a part of WES, the United States will host the High-Level Policy Dialogue (HLPD) on Women and the Economy on September 16 in San Francisco for high-ranking officials, responsible for a broader spectrum of economic policies and for private sector leaders from business, academia or civil society in their respective economies to discuss issues on women’s empowerment.
- The Policy Dialogue will discuss and develop a set of policy recommendations to Leaders about how APEC can take concrete actions to enhance economic participation of women.
- The United States has proposed to create the APEC Policy Partnership on Women and the Economy (PPWE) under which the recommendations will be drafted.
Who will participate in the HLPD on Women and the Economy?
- Secretary of State Hillary Rodham Clinton, as the head of U.S. delegation to the Policy Dialogue, has issued letters of invitation to her counterparts in APEC economies.
- We recommend that senior government officials responsible for economic and commercial policies, as well as representatives from the private sector join the dialogue.
How will the PPWE be sustained going forward?
- The APEC Policy Partnership on Women and the Economy (PPWE) Management Council will be created to maintain the continuity of the efforts under PPWE.
- The core members of the Council will be the chair, who will be members from the current host economy, and the co-chairs, who will represent the previous host economy and the future host economy. The chair and co-chairs, who will be government officials, will use the Management Council to guide the efforts of the PPWE.
- The chair and co-chairs may invite private sector participants from their economies to serve as advisors. Interested members from other economies and APEC Business Advisory Council (ABAC) would also be invited to join the discussion at the PPWE Management Council.
Paid Sick Days and Employer Penalties for Absence
Paid sick days laws include anti-retaliation provisions that protect workers from being penalized for using paid sick days. However, most employees in the United States have no such legal protection and may face retaliation for taking time off when sick. An IWPR fact sheet provides new findings on the extent to which employees fear retaliation from employers for the use of paid sick days. |
---|
Job Gap Grows between Men and Women
In July, men gained 136,000 payroll jobs while at the same time women lost 19,000. Updated research from IWPR shows that throughout the recovery men have been gaining a disproportionate share of the jobs, even taking into account that men lost many more jobs than women in what was dubbed the "mancession."
สาระน่ารู้เกี่ยวกับ เอเปค (APEC)
ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมว่าด้วย “ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก” 2003 (
ความเป็นมาเกี่ยวกับเอเปค
เอเปค (APEC) หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก (
วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งเอเปค
O สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการค้าของภูมิภาคและของโลก
O พัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าในระดับพหุภาคี (ระบบการค้าหลายฝ่าย)
O ส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าในภูมิภาคในลักษณะที่มิใช่การรวมกลุ่มทางการค้าที่กีดกันประเทศนอกกลุ่ม
O ลดอุปสรรคและอำนวยความสะดวกด้านการค้าสินค้า การค้าบริการและการลงทุนระหว่างสมาชิกให้เป็นไปโดยเสรี สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของแกตต์ (GATT) ซึ่งปัจจุบันพัฒนามาเป็นองค์การการค้าโลก (World Trade Organization หรือ WTO)
เป้าหมายของเอเปค
คือ การร่วมกันทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับภูมิภาคและโลก
หัวใจของเอเปค
คือ การส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคี และสนับสนุนหลักการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจแบบเปิด (open regionalism) ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือการให้สิทธิประโยชน์ที่สมาชิกเอเปคให้แก่กัน และมีผลต่อผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกเอเปคด้วย การดำเนินการของเอเปคจะยึดหลักฉันทามติร่วมกันของสมาชิกเอเปค ความสมัครใจของสมาชิกและผลประโยชน์ร่วมกัน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของระบบเศรษฐกิจและสังคม และระดับการพัฒนาของสมาชิก
การเป็นสมาชิกภาพ
¨ สมาชิกแรกเริ่มในปี 2532 มีสมาชิก 12 รายได้แก่ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ และอาเซียนเดิม (คือ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ และไทย )
¨ ต่อมาในปี 2534 – 2537 มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 6 ราย คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง จีนไทเป ปาปัวนิวกินี ชิลี และเม็กซิโก
¨ ล่าสุดในปี 2541 เอเปคมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 3 ราย คือ เปรู เวียดนาม รัสเซีย
สมาชิกรวมทั้งสิ้น 21 ราย ได้แก่ ออสเตรเลีย/ สหรัฐอเมริกา/ แคนาดา/ ญี่ปุ่น/ สาธารณรัฐเกาหลี/ นิวซีแลนด์/ สิงคโปร์/ อินโดนีเซีย/ มาเลเซีย/ บรูไน ดารุสซาลาม/ ฟิลิปปินส์/ ไทย/ สาธารณรัฐประชาชนจีน/ ฮ่องกง/ จีนไทเป/ ปาปัวนิวกินี/ ชิลี/ เม็กซิโก/ เปรู/ เวียดนาม และรัสเซีย
การเป็นเจ้าภาพจัดประชุม
สมาชิกเอเปคจะหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคในแต่ละปี เพื่อติดตามความคืบหน้าเสนอแนะนโยบายและแนวทางการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของเอเปค ปัจจุบันมีการหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน 1 ปี กับประเทศนอกกลุ่มอาเซียน 2 ปี สำหรับปี 2544 สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค ตามด้วยเม็กซิโกในปี 2545 ประเทศไทยในปี 2546 ชิลีในปี 2547 และ สาธารณรัฐเกาหลีในปี 2548 สำหรับประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในปี 2546 ถือว่าเป็นครั้งที่ 2 เนื่องจากไทยเคยเป็นเจ้าภาพมาครั้งหนึ่งเมื่อปี 2535
นโยบายของเวทีเอเปค
¨ เอเปค ไม่ใช่เวทีเจรจาการค้า แต่เป็นเวทีสำหรับปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่ประเทศสมาชิกสนใจ
¨ เอเปคสนับสนุนแนวทางภูมิภาคแบบเปิด (Open regionalism) โดยสมาชิกตกลงดำเนินการเปิดเสรีบนพื้นฐาน MFN (Most – Favoured Nation) โดยไม่เลือกปฏิบัติกับประเทศนอกกลุ่ม แต่ให้สิทธิประโยชน์กับประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเอเปคเช่นเดียวกับที่ให้สมาชิก (non - discrimination) เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีของการเปิดเสรีและกระตุ้นการเปิดเสรีของประเทศนอกกลุ่มด้วย รวมทั้งช่วยลดอุปสรรคและสนับสนุนการค้าเสรีในระดับพหุภาคี แต่แนวทางดังกล่าวก็อาจทำให้สมาชิกมีความระมัดระวังในการเปิดเสรีมากขึ้น เพื่อป้องกันผู้ได้ประโยชน์โดยไม่ต้องจ่าย (free rider)
¨ การดำเนินการใด ๆ ยึดหลักฉันทามติ ความสมัครใจ ความเท่าเทียมกัน และการมีผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
¨ เอเปคคำนึงถึงความแตกต่างของระบบเศรษฐกิจ สังคม และระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิก
¨ การรวมกลุ่มของเอเปคจนถึงปัจจุบันไม่ได้มีข้อผูกพันทางกฎหมาย
¨ เน้นความสำคัญเท่าเทียมกันของการดำเนินงาน 3 ด้าน ดังนี้
1) การเปิดเสรีการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Liberalization)
2) การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Facilitation)
3) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (Economic and Technical Cooperation : ECOTECH)
การประชุมระดับต่าง ๆ ของเอเปค
²การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค (APEC Leaders Meeting) มีการประชุมปีละ 1 ครั้งตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา และมักจัดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคม/พฤศจิกายน เป็นการประชุมระดับสูงสุดของเอเปค โดยมีผู้นำประเทศ/รัฐบาลเป็นผู้เข้าร่วมประชุม สำหรับประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เข้าร่วมประชุม
²การประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค (APEC Meeting of Minister Responsible For Trade – MRT) มีการประชุมปีละ 1 ครั้ง ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเอเปคในปี 2532 จัดขึ้นก่อนหน้าการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้เข้าร่วมประชุม
²การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค (APEC Senior Officials Meeting – SOM) มีการประชุมปีละ 3-4 ครั้ง โดยปลัดกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนเป็นหัวหน้าคณะ และอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์หรือผู้แทนเป็น Plus one ทำหน้าที่ติดตามหรือทบทวนการดำเนินงานของคณะกรรมการ คณะทำงานกลุ่มย่อยต่าง ๆ ตลอดจนการบริหารงานของสำนักเลขาธิการเอเปค และงบประมาณสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ของเอเปค เพื่อเสนอที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปคพิจารณา
²การประชุมคณะกรรมการ ได้แก่การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุน (CTI) คณะกรรมการด้านเศรษฐกิจ (EC) คณะกรรมการด้านงบประมาณและการบริหาร (BMC) และคณะอนุกรรมการเจ้าหน้าที่อาวุโสว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (ESC) มีการประชุมปีละ 3 ครั้งในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค
²การประชุมคณะทำงาน เป็นการประชุมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รวม 13 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม พลังงาน การขนส่ง โทรคมนาคมและสารสนเทศ การท่องเที่ยว ข้อสนเทศด้านการค้าและการลงทุน (ปัจจุบันไม่มีการจัดประชุม) การส่งเสริมการค้า การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล การประมง โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจวิสาหกิจขนาดเล็ก-ขนาดกลาง และเทคโนโลยีด้านการเกษตร นอกจากนั้นยังมีการประชุมของกลุ่มเฉพาะกิจสตรี คณะทำงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มเฉพาะกิจด้าน e- APEC
²การประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มย่อยต่าง ๆ ภายใต้ CTI ได้แก่กลุ่มการเข้าสู่ตลาด กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน กลุ่มบริหาร คณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานและการรับรอง คณะอนุกรรมการด้านพิธีการศุลกากร กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา กลุ่มนโยบายการแข่งขันและการผ่อนคลายกฎระเบียบ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดซื้อโดยรัฐ กลุ่มไม่เป็นทางการด้านการเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจ และกลุ่ม WTO
²นอกจากนั้นยังมีการประชุมระดับรัฐมนตรีในสาขาต่าง ๆ ที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว (ต่อมาเริ่มจัดเป็นประจำ) เพื่อพิจารณาปัญหาเฉพาะด้านในกรอบเอเปค เช่น ด้านการค้า การคลัง สิ่งแวดล้อม การศึกษา วิสาหกิจขนาดย่อม-ขนาดกลาง คมนาคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสตรี
ผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากเอเปค 2003
v เพิ่มโอกาสในการขยายการค้าและการลงทุนของไทย
v ทำให้อุปสรรคและข้อกีดกันทางการค้าลดลง
v เพิ่มอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจการค้า
v ประชาสัมพันธ์ให้ทั่วโลกรู้จักประเทศไทยมากขึ้น และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว
ผลการประชุมสำคัญที่ผ่านมา
¹ การเปิดการค้าเสรีด้านการค้าและการลงทุนในภูมิภาคและการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจในภูมิภาคเมื่อปี 2540
¹ การดำเนินการโครงข่ายรองรับทางสังคม เพื่อลดผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจต่อประชาชนในท้องถิ่นของสมาชิกเอเปคที่ประสบวิกฤตเศรษฐกิจ และช่วยให้บุคคลเหล่านี้สามารถปรับตัวรับมือได้ดีขึ้นหากเกิดวิกฤตในอนาคต
¹ การพิจารณาประเด็นเรื่องโลกาภิวัตน์ (Globalization) และการผลักดันการเจรจาการเปิดเสรีการค้ารอบใหม่ในกรอบขององค์การการค้าโลก (WTO) ภายในปี 2001
¹ การประชุมระดับผู้นำเศรษฐกิจเอเปคเมื่อปี 2544 ที่นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ประชุมได้ออกแถลงการณ์เฉพาะเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 เพื่อแสดงความมุ่งมั่นและตั้งใจร่วมกันของผู้นำเอเปคที่จะดำเนินการในด้านต่าง ๆ เพื่อต่อต้านการก่อการร้าย
กำหนดการประชุม เอเปค 2003
การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส
ครั้งที่ 1 วันที่ 12-21 กุมภาพันธ์ 2546 ที่จังหวัดเชียงราย
ครั้งที่ 2 วันที่ 21-30 พฤษภาคม 2546 ที่จังหวัดขอนแก่น
ครั้งที่ 3 วันที่ 14-23 สิงหาคม 2546 ที่จังหวัดภูเก็ต
การประชุมระดับรัฐมนตรีการค้าเอเปค ครั้งที่ 15
วันที่ 2-3 มิถุนายน 2546 ที่จังหวัดขอนแก่น
การประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 15
วันที่ 17-18 ตุลาคม 2546 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
การประชุมระดับผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 11
วันที่ 20-21 ตุลาคม 2546 (11th APEC Leaders Meeting) ที่กรุงเทพมหานคร
การประชุมเอเปคที่ขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่นถือเป็นตัวแทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้รับเกียรติคัดเลือกเป็นสถานที่จัดการประชุมว่าด้วย “ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก” (
u การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 2 (APEC Senior Officials Meeting – SOM) ระหว่างวันที่ 21-30 พฤษภาคม 2546 โดยกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม
v การประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค (APEC Meeting of Minister Responsible For Trade – MRT) ระหว่างวันที่ 2-3 มิถุนายน 2546 โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม
สถานที่ในการจัดประชุม - กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดสถานที่ดังนี้
สถานที่ประชุม - สถานที่หลัก โรงแรมโซฟิเทล ราชา ออคิด ขอนแก่น
- สถานที่ประชุมหารืออย่างไม่เป็นทางการ (Retreat) เรือนภูพานคำ เขื่อนอุบลรัตน์
สถานที่จัดงานเลี้ยงกาล่าดินเนอร์ – ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สถานที่พัก - โรงแรมโซฟิเทล ราชา ออคิด โรงแรมโฆษะ และโรงแรมเจริญธานีปริ๊นเซส
บทบาทของไทยกับเอเปค
jนับตั้งแต่การก่อตั้งเอเปค ไทยได้เข้าร่วมในกิจกรรมด้านต่าง ๆ ของเอเปคอย่างสม่ำเสมอ และมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจของเอเปคเพื่อให้กิจกรรมของเอเปคมีทิศทางการดำเนินการที่สอดคล้องกับผลประโยชน์และส่งเสริมการพัฒนาของสมาชิกในภูมิภาค
jบทบาทในการผลักดันประเด็นที่สำคัญทั้งในระดับโลก อาทิ การแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ซึ่งไทยเป็นสมาชิกรายแรกที่รณรงค์ให้มีการหารือในที่ประชุมผู้นำเอเปคเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจ ดังกล่าว
jไทยมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้ที่ประชุมผู้นำเอเปคหารือเกี่ยวกับวิกฤตการณ์น้ำมันเมื่อปี 2543
jไทยผลักดันให้เอเปคมีแผนดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือสมาชิกในการปรับตัวให้เข้ากับระบบเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ที่เกิดจากการปฏิวัติทางเทคโนโลยีสารสนเทศและกระแสโลกาภิวัตน์
jไทยผลักดันให้มีการสร้างเครือข่ายของเอเปคที่เกี่ยวกับโครงข่ายรองรับทางสังคม (Social safety Nets) และมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้สตรีและเยาวชนเข้าร่วมในกิจกรรมของเอเปคมากขึ้น เพื่อให้ได้รับประโยชน์ในด้านการพัฒนาจากเอเปคโดยเท่าเทียมกัน
ประเด็นสำคัญที่จะพิจารณา
ในการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค
¢ผลักดันให้มีการลดอุปสรรคและส่งเสริมการอำนวยความสะดวกทางการค้า เพื่อการค้า ขยายตัว
¢ส่งเสริมสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based Economy: KBE) ซึ่งรวมถึงให้มีการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างกว้างขวาง ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
¢ส่งเสริมให้เอเปคมีบทบาทนำในการผลักดันให้การเจรจาการค้ารอบใหม่ (Doha Development Agenda) ภายใต้องค์การการค้าโลกบรรลุเป้าหมาย
¢ผลักดันให้มีการส่งเสริมการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีความเข้มแข็ง
¢ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์ที่ได้จากการเปิดเสรีทางการค้า และการลงทุน รวมทั้งความร่วมมือในการส่งเสริมสร้างขีดความสามารถ
การค้าระหว่างไทยกับเอเปค
Ê เอเปคมีบทบาทสำคัญด้านการค้าและการลงทุนของไทย ในปี 2544 การค้าระหว่างไทยกับสมาชิกเอเปคมีสัดส่วนร้อยละ 70 ของมูลค่าการค้ารวมของไทย
Ê เอเปคเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญที่สุดของไทย ในปี 2544 ไทยส่งออกไปเอเปคร้อยละ 72 ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทย สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปเอเปค ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า กุ้งสดแช่เย็น/แช่แข็ง เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเม็ดพลาสติก
Ê เอเปคเป็นแหล่งนำเข้าที่สำคัญที่สุดของไทย โดยในปี 2544 ไทยนำเข้าจากเอเปคถึงร้อยละ 68 ของการนำเข้ารวมของไทย สินค้านำเข้าสำคัญจากเอเปค ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ แผง วงจรไฟฟ้า เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
ยุทธศาสตร์ไทยในเอเปค
เอเปคมีกิจกรรมที่ครอบคลุมหลายมิติทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม เป็นโอกาสและช่องทางให้ไทยใช้เวทีในการแสดงหาความร่วมมือที่สนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และส่งเสริมความแข็งแกร่งทางสังคม รวมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์และช่วยให้เกิดการพัฒนาร่วมกัน การกำหนดยุทธศาสตร์และท่าทีที่เหมาะสมของไทยในเอเปคจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ประกอบด้วย
Œไทยจะใช้เอเปคเป็นเวทีช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกที่เป็นประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย เพื่อรองรับสภาวะความผันผวนของเศรษฐกิจโลกในอนาคต ซึ่งทำได้โดยผ่านความร่วมมือในการพัฒนาด้านต่าง ๆ
ประเทศไทยสามารถมีบทบาทนำในการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในด้านต่าง ๆ เนื่องจากประเทศไทยมีทรัพยากรและภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม
Žนอกจากการเสริมสร้างความสามารถเพื่อเตรียมพร้อมกับการเปิดเสรีแล้ว ไทยยังเน้นการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation) และโดยที่การค้าในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับมาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษีมากขึ้น ไทยจึงต้องผลักดันให้มีการกำหนดมาตรฐานสินค้าส่งออกที่เป็น มาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูป และสินค้าอุตสาหกรรม
ประเทศไทยสามารถแสดงบทบาทในการเชื่อมโยงระหว่างประเทศในกลุ่มเอเปคกับประเทศเพื่อนบ้านที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกเอเปค รวมถึงพม่า ลาว และกัมพูชา เพื่อให้เกิดการพัฒนาขึ้นในวงกว้าง และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาของประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ต่อไป
ในส่วนของความมั่นคงทางด้านการเงิน ควรผลักดันให้มีการดำเนินการต่อในเรื่องความร่วมมือด้านการเงินระหว่างสมาชิกเอเปค ซึ่งเป็นสิ่งที่ไทยได้ริเริ่มมาแล้วจาก "ข้อริเริ่มที่เชียงใหม่ (Chiangmai Initiative)" เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการเงินของประเทศในภูมิภาค และป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินขึ้นอีกในภูมิภาค นอกจากนี้ ไทยควรส่งเสริมให้เอเปคหารือเรื่องภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคและหามาตรการบรรเทาผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย รวมทั้งต้องการให้เร่งกระบวนการปฏิรูปโครงสร้างระบบการเงินของโลก (International Financial Architecture)
‘บทบาทของไทยในเอเปคในช่วง 2-3 ปี ปีที่ผ่านมา จะเน้นการมีส่วนร่วมในลักษณะ pro-active มากยิ่งขึ้น เชื่อว่าบทบาทและความสำคัญของไทยในเวทีเอเปคจะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคในปี ค.ศ. 2003 จะเป็นโอกาสให้ไทยสามารถผลักดันประเด็นความร่วมมือซึ่งอยู่ในความสนใจของสมาชิกกำลังพัฒนา นอกจากนี้ ไทยสามารถฟื้นฟูความน่าเชื่อถือของประเทศและความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทยในสายตาของภาคธุรกิจของสาธารณชนเอเปค ด้วยการนำเสนอแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของรัฐบาล การเสนอประเด็นใหม่ ๆ ที่ตอบสนองกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิตอลและภาคเศรษฐกิจใหม่ เพื่อให้ความร่วมมือเอเปคในอนาคตมีความหมายและเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการยกระดับมาตรฐานการครองชีพ และความเจริญทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอย่างแท้จริง
แผนงานที่สำคัญของเอเปค
ด้านการค้าการลงทุน
Úในปี 2537 ผู้นำเอเปคได้ประกาศเป้าหมายโบเกอร์ในการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนของสมาชิก เอเปค คือภายในปี 2553 (ค.ศ. 2010) สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว และภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) สำหรับประเทศสมาชิกกำลังพัฒนา การกำหนดเป้าหมายเปิดเสรีของเอเปคเป็นการประกาศเจตนารมณ์ทางการเมืองที่แสดงถึงความตั้งใจ และชี้นำการจัดทำนโยบายรัฐบาลในประเด็นที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับการปรับปรุงแก้ไขขั้นตอน และกฎหมายภายในประเทศสมาชิก
Úถัดมาในปี 2538 ที่ประชุมผู้นำ เอเปคได้ให้การรับรองแผนปฏิบัติการโอซาก้า (OSAKA Action) เป็นกรอบสำหรับแนวทางการดำเนินงานของสมาชิกเพื่อบรรลุเป้าหมายโบกอร์ ซึ่งต่อมาเอเปคได้จัดทำแผนงานต่าง ๆ ขึ้นเพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการโอซาก้า ส่วนที่ 1 ในด้านเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน โดยมีแผนงานที่สำคัญ เช่น
^Individual Action Plans หรือ IAPS ที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกจัดทำแผนงานที่ตนจะดำเนินการเพื่อบรรลุการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน โดยเรียกแผนงานนี้ว่า IAPS เป็นแผนงานที่ประเทศสมาชิกกำหนดและปฏิบัติโดยความสมัครใจและความพร้อมของตน โดยมีกำหนดเริ่มปฏิบัติตามแผนตั้งแต่ 1 มกราคม 2540 จนถึงปี 2553/2563 (ค.ศ. 2010/2020) ใน 14 สาขา ได้แก่ ภาษีศุลกากร มาตรการที่ไม่ใช้ภาษีศุลกากร บริการ การลงทุน มาตรฐานและการรับรองพิธีการศุลกากร สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายการแข่งขัน การจัดซื้อโดยรัฐ การผ่อนคลายกฎระเบียบ กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า การปรองดองข้อพิพาท การเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจ และการปฏิบัติตามผลการเจรจารอบอุรุกวัย โดยแบ่งเป็นแผนงานระยะสั้น – กลาง – ยาว ทั้งนี้ เอเปคได้สร้างกลไกในการติดตามผลการปฏิบัติตามและการปรับปรุง IAPS ของสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ โดยสมาชิกจะต้องเสนอแผนงาน IAPS ที่ปรับปรุงใหม่ทุกปี และรายงานผลการปฏิบัติตาม IAPS ในปีที่ผ่านมาด้วย ในปี 2543 เอเปคได้ให้ความสำคัญกับการปรับปรุง IAPS ที่เรียกว่าโครงการ electronic prototype IAP: e-IAP เพื่อเพิ่มความโปร่งใส ช่วยในการใช้งานได้ง่ายและสะดวกขึ้น (user-friendly) และเป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ ซึ่งโครงการนี้เป็นผลงานรูปธรรมสำคัญอันหนึ่งของการประชุมผู้นำเอเปคในปี 2543 โดยเอเปคได้สนับสนุนให้สมาชิกรายงาน IAPS ของตนตามรูปแบบใหม่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในปี 2543 และให้จัดทำ IAPS ตามระบบใหม่อย่างเต็มที่ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นไป
^ Collective Action Plans หรือ CAPS คือแผนการดำเนินร่วมกันของสมาชิกเอเปค ส่วนใหญ่เน้นแผนงานทางด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน โดยมีคณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ภายใต้เอเปคดูแลรับผิดชอบจัดทำขึ้นรวม15 สาขา เช่นเดียวกับ IAPS ข้างต้น โดยเพิ่มสาขาการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์อีกสาขาหนึ่ง กิจกรรมภายใต้ CAPS มักเกี่ยวข้องกับการรวบรวมจัดทำฐานข้อมูลด้านต่าง ๆ การปรับประสานกฎระเบียบ การปรับมาตรฐานสินค้า การจัดทำเอกสารคู่มือเผยแพร่ ( คู่มือการลงทุนในเอเปค คู่มือการเดินทางของนักธุรกิจในเอเปค) และการจัดสัมมนา/ฝึกอบรมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างสมาชิกเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนในสาขาต่าง ๆ การจัดทำหลักการแบบไม่ผูกพันในสาขาต่าง ๆ เช่นการลงทุนนโยบายการแข่งขัน การจัดซื้อโดยรัฐ และการอำนวยความสะดวกทางการค้า เป็นต้น
^ Early Voluntary Sectoral Liberalization หรือ EVSL คือ แผนงานการเปิดเสรีให้เร็วขึ้นรายสาขาความสมัครใจภายใต้กรอบเอเปค ซึ่งเอเปคริเริ่มแผนงานนี้ในช่วงปลายปี 2539 และเอเปคได้คัดเลือกสาขาเพื่อเปิดเสรีขึ้น 15 สาขา สำหรับกำหนดเวลาที่ลดอัตราภาษีให้ถึงขั้นสุดท้ายส่วนใหญ่จะเป็นประมาณปี ค.ศ.2003-2005 ต่อมาที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปค เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ได้เห็นชอบให้นำเรื่องการเปิดเสรีให้เร็วขึ้นหลายรายสาขา (เฉพาะเรื่องการลด/เลิกภาษีศุลกากร) เข้าสู่กรอบ WTO ส่วนเรื่องมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร การอำนวยความสะดวก ความร่วมมือทาง เศรษฐกิจและวิชาการและอื่น ๆ ให้เอเปคดำเนินการตามแผนงานที่กำหนดไว้ต่อไป อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับข้อเสนอการเปิดเสรีให้เร็วขึ้นรายสาขาที่เอเปคนำเข้าสู่กรอบ WTO
^พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) ที่ประชุมผู้นำเอเปคครั้งที่ 6 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เห็นชอบแผนแม่บทด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในกรอบเอเปค (APEC Blueprint for Action on Electronic commerce) เพื่อเน้นบทบาทนำของภาคเอกชนในการพัฒนาเทคโนโลยีการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ บทบาทของภาครัฐในการอำนวยความสะดวกและการเสริมสร้างสภาพแวดล้อม และกฎระเบียบที่เอื้ออำนวยต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ต่อมาในปี 2542 มีการจัดตั้งคณะทำงาน (Steering Group) โดยมีวาระการทำงาน 2 ปี เพื่อพิจารณาดำเนินงาน/กิจกรรมความร่วมมือด้านนี้ให้สอดคล้องตามแผนแม่บท และหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนกับงานที่กลุ่มย่อยอื่น ๆ ได้ดำเนินการแล้ว ประเด็นสำคัญที่ครอบคลุม เช่น การจัดทำ readiness indicator เพื่อวัดความพร้อมของแต่ละประเทศสมาชิกในเรื่องการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาระบบการค้าไร้เอกสาร (paperless trading) โดยกำหนดเป้าหมายให้ประเทศสมาชิกเอเปคจะต้องบรรลุเป้าหมายการค้าแบบไม่ใช้เอกสารภายในปี ค.ศ. 2005 สำหรับสมาชิกพัฒนาแล้ว และภายในปี ค.ศ. 2010 สำหรับสมาชิกกำลังพัฒนา
^ APEC Food System เป็นข้อเสนอจากสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของ เอเปค (ABEC) ในลักษณะโครงการระยะยาว วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาค ซึ่งกำหนดแผนงานความร่วมมือของสมาชิกเอเปคใน 3 ประเด็นหลัก คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในชนบท / การส่งเสริมการค้าสินค้าอาหาร โดยให้ความช่วยเหลือทางเทคนิควิชาการเพื่อยกระดับมาตรการสุขอนามัย และการเปิดเสรีการค้าอาหารให้เร็วกว่าเป้าหมายโบกอร์ / การกระจายเทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปอาหาร
การเป็นประธานการประชุม เอเปค
พ.ศ. 2532 ออสเตรเลีย ณ กรุงแคนเบอร์รา
พ.ศ. 2533 สิงคโปร์
พ.ศ. 2534 สาธารณรัฐเกาหลี ณ กรุงโซล
พ.ศ. 2535 ไทย ณ กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2536 สหรัฐอเมริกา ณ นครซีแอตเติล
พ.ศ. 2537 อินโดนีเชีย ณ กรุงจาการ์ตา
พ.ศ. 2538 ญี่ปุ่น ณ นครโอซากา
พ.ศ. 2539 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา
พ.ศ. 2540 แคนาดา ณ นครแวนคูเวอร์
พ.ศ. 2541 มาเลเซีย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
พ.ศ. 2542 นิวซีแลนด์ ณ เมืองโอ๊คแลน
อ้างอิง : กรมประชาสัมพันธ์.2546. สาระน่ารู้เกี่ยวกับ เอเปค (APEC). [Online]. Available: URL : http://www.prd.go.th/prd1/special_article/data/ap1.htm.
No comments:
Post a Comment