สรุปประเด็น-เนื้อหาการให้สัมภาษณ์ของนายสุรชัย ขันอาสา อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
ในรายการ CASH FLOW เพื่อออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ VOICE TV
ในวันศุกร์ ที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๔ ตั้งแต่เวลา ๑๘.๐๐ – ๑๘.๓๐ น.
ในรายการ CASH FLOW เพื่อออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ VOICE TV
ในวันศุกร์ ที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๔ ตั้งแต่เวลา ๑๘.๐๐ – ๑๘.๓๐ น.
............................................
เรื่องการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล
โดยกรมการพัฒนาชุมชน
โดยกรมการพัฒนาชุมชน
ช่วงที่
๒ ของรายการ
ผู้ดำเนินรายการ : เปิดประเด็นและสนทนาในหัวข้อ
การดำเนินงาน “โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์”
ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ว่ากรมการพัฒนาชุมชน ในฐานะเป็นหน่วยงานเจ้าภาพหลักในการดำเนินงาน
มีแนวคิดและแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายนี้ให้มีผลสำเร็จได้อย่างไร
อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน : ได้กล่าวถึงการขับเคลื่อนนโยบาย “โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” ว่า ที่ผ่านมานั้นผู้ผลิต ผู้ประกอบการโอทอป ต้องยอมรับว่า เก่งทำ เก่งผลิต แต่ยังไม่เก่งในเรื่องการบริหารจัดการ การตลาด จะต้องใช้หลักการวิจัยและพัฒนา (R&D) มาใช้เพื่อพัฒนาโครงการโอทอป ทั้งระบบ
อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน : ได้กล่าวถึงการขับเคลื่อนนโยบาย “โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” ว่า ที่ผ่านมานั้นผู้ผลิต ผู้ประกอบการโอทอป ต้องยอมรับว่า เก่งทำ เก่งผลิต แต่ยังไม่เก่งในเรื่องการบริหารจัดการ การตลาด จะต้องใช้หลักการวิจัยและพัฒนา (R&D) มาใช้เพื่อพัฒนาโครงการโอทอป ทั้งระบบ
กรมฯ
มีนโยบาย ๗ x ๒ คือ การกำหนดพื้นที่หลักเพื่อเป็นจุดแสดงและจำหน่ายสินค้าโอทอป
๗
หมายถึง พื้นที่จังหวัดที่อยู่แนวเขตชายแดน เช่น สระแก้ว หนองคาย ฯลฯ
เพื่อรองรับผู้บริโภค จากประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซี่ยน
๒
หมายถึง พื้นที่หลักที่เป็นย่านธุรกิจการท่องเที่ยว คือ กรุงเทพมหานคร และ ภูเก็ต
ศูนย์กระจายสินค้า
ดังกล่าว จะเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าโอทอปได้ตลอดทั้งปี
เพราะที่ผ่านมาผู้ที่สนใจจะมีโอกาสได้ซื้อสินค้าในช่วงงาน OTOP City และ OTOP Midyear เท่านั้น
ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจุดแรกใน
๒ พื้นที่หลักจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม ๒๕๕๔ นี้
ส่วนที่เหลือทั้งหมด (๘ แห่ง) จะเสร็จภายในปี ๒๕๕๕
ในศูนย์ฯ
ทั้ง ๙ แห่ง ไม่มีเพียงการแสดงและจำหน่ายสินค้าเท่านั้น
แต่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการพัฒนาโอทอปทั้งระบบ
และเป็นจุดสั่งซื้อผลิตภัณฑ์โอทอป ด้วย อีกประการหนึ่งหลังจากการจัดงานโอทอปในส่วนส่วนกลางซึ่งปกติจัดที่เมืองทองธานี
ต่อไปเมื่อจัดงานเสร็จแล้วผลิตภัณฑ์สินค้าโอทอป ที่เหลือก็จะถูกนำไปไว้ในศูนย์ฯต่างๆ
ที่ผ่านมาหลังเลิกงานฯจะต้องขนผลิตภัณฑ์กลับหรือไม่ก็ขาย ลดราคา ทำให้ขาดโอกาสทางการตลาดและรายได้
เราจะจัดให้เหมือนกับศูนย์ส่งออก
ย่านรัชดา คือ เน้นสินค้าตามช่วงเทศกาล หมุนเวียนกันไป
เปรียบเสมือนเป็นคลัง
stock สินค้า ที่มีมากกว่า ๘๐,๐๐๐ ผลิตภัณฑ์ทั่วประประเทศ
แต่ละหมู่บ้าน
ตำบล จะมีการพัฒนา Product
ของตนเองให้ตรงกับความต้องการของตลาด โดยสนับสนุนให้มีการรวมตัวกันเป็นเครือข่าย
ทั้งเครือข่ายผู้ผลิตผู้ประกอบการ เครือข่ายสถาบันการศึกษา หน่วยงานอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง เรามีการประกวดการพัฒนาต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดาว ปีละ ๒ ครั้ง
เพื่อยกระดับสินค้าตนเองและสร้างมาตรฐานของผลิตภัณฑ์
ในส่วนของการส่งออกไปต่างประเทศ
ทางกรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินการร่วมกับกระทรวงพาณิชย์
ในส่วนการพัฒนาคุณภาพการผลิต ทางกระทรวงอุตสาหกรรม ให้การสนับสนุนส่งเสริมเพื่อยกระดับให้เป็น
SMEs ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องเรามีการทำงานร่วมกัน
-๒-
งานโอทอป
เป็นงานใหม่ตามนโยบายของรัฐบาล แต่เป็นงานที่เข้าถึงสู่รากหญ้า
ชาวบ้านได้รับประโยชน์ คนในชุมชนใช้ภูมิปัญญา
ทรัพยากรในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ตรงประเด็น ตามภารกิจของการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
รู้จักคิด รู้จักผลิต รู้วิธีการจัดการ โดยใช้งานโอทอปเป็นเครื่องมือ
ที่สำคัญประชาชนมีรายได้ ที่ผ่านมาสามารถสร้างยอดจำหน่ายได้มากถึง ๖ หมื่นล้านบาท
ภายในปี ๒๕๕๕ ตั้งเป้าไว้ว่าจะมียอดจำหน่ายให้ได้ถึง ๑ แสนล้านบาท จากสินค้ากว่า ๘
หมื่นชนิดที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ
พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ของเรา ทรงมีพระราชดำรัส แก่พัฒนากร ว่างานพัฒนาชุมชนนั้นเป็นงานที่ยาก
ต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนให้ดี เปรียบเสมือนตึกที่แข็งแรงจะอยู่บนฐานราก
เสาเข็มที่แข็งแรง เรามักจะมองเห็นตัวตึกที่สวยงาม แต่มองไม่เห็นเสาเข็มและฐานราก
การทำงานพัฒนาชุมชนก็เช่นกัน คนมักจะมองไม่ค่อยเห็น ในช่วงวันที่ ๒๘ กันยายน – ๑ ตุลาคม
๒๕๕๔ เป็นช่วงของการก้าวเข้าสู่ ปีที่ ๕๐
ของกรมการพัฒนาชุมชน ถือโอกาสนี้เป็นปีเฉลิมฉลองและจัดนิทรรศการแสดงผลงานให้เป็นที่รู้จักว่าพัฒนาชุมชนทำอะไร
มีการประกวดผลิตภัณฑ์ของเครือข่ายองค์ความรู้ (KBO) จากทุกจังหวัด
และจำหน่ายสินค้า OTOP ด้วย
ในส่วนของความเห็น
ถือว่าเป็นนโยบายที่ประชาชนได้ประโยชน์ อย่างแท้จริง
ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล เปลี่ยนแปลงนโยบาย แต่นโยบายที่ประชาชนได้ประโยชน์นั้นยังคงอยู่ต่อไป ๑
ในนั้นก็คือ โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP
|
พีระ คำศรีจันทร์
ฝ่ายผลิตและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
No comments:
Post a Comment