follow

Sunday, 15 February 2015

เขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.สระแก้ว And beyond Economic corridor










กิจกรรมผู้บริหาร
อพช.ร่วมตรวจเยี่ยมพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.สระแก้ว 
วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
อพช.เป็นประธานการส่งมอบรถยนต์ราชการ ประเภทรถบรรทุกแบบดับเบิ้ลแค็บ 
วันที่ 26 ม.ค. 58
อพช.เข้าร่วมพิธีพิธีเปิด"โครงการตลาดนัดชุมชน ไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้"
วันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๘
http://www.manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000014583

http://thainews.prd.go.th/centerweb/News/NewsDetail?NT01_NewsID=TNRPT5711130010009

อพช.ร่วมตรวจเยี่ยมพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.สระแก้ว

วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เวลา ๑๐.๓๐ น. พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตรวจเยี่ยมพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ บริเวณที่พิจารณาเป็นที่จัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน และศูนย์บริการเบ็ดเสร็จสำหรับผลิตผลทางการเกษตร บริเวณบ้านเขาดิน ตำบลคลองหาด อ.คลองหาด บริเวณที่พิจารณาเป็นจุดผ่านแดนถาวรแห่งใหม่บ้านหนองเอี่ยน อ.อรัญประเทศ บริเวรบ้านป่าไร่ ต.บ้านไร่ อ.อรัญประเทศ  จ.สระแก้ว ในการนี้นายสุธี มากบุญ รมช.กระทรวงมหาดไทย นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงฯ
นายไมตรี อินทุสุต รองปลัดกระทรวงฯ 
นายขวัญชัย วงศ์นิติกร อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน/ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงฯ/ผวจ.สระแก้ว/ รองผวจ.ฯ/เลขานุการกรมฯ /พัฒนาการจังหวัด /จนท. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมสำรวจพื้นที่ฯ ในครั้งนี้ด้วย
คลิกดูรายละเอียดที่นี่
ปรับปรุงล่าสุด: 06 ก.พ. 58 21:02:00 น





.ายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิด เผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ครั้งที่ 2/2557 มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ให้ความเห็นชอบขอบเขตพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษใน 5 พื้นที่ ครอบคลุม 36 ตำบล 10 อำเภอ พื้นที่รวม 1.83 ล้านไร่ หรือ 2,932 ตร.กม. ได้แก่ 1.ตาก มี 14 ตำบล 886,875ไร่ หรือ 1,419 ตร.กม. ใน อ.แม่สอด อ.พบพระ และ อ.แม่ระมาด 1.ตาก มี 14 ตำบล 886,875ไร่ หรือ 1,419 ตร.กม. ใน อ.แม่สอด อ.พบพระ และ อ.แม่ระมาด 2.มุกดาหาร มี 11 ตำบล 361,542 ไร่ หรือ 578.5 ตร.กม. ใน อ.เมือง อ.หว้านใหญ่ และ อ.ดอนตาล 3.สงขลา มี 4 ตำบล 345,187 ไร่ หรือ 552.3 ตร.กม. ใน อ.สะเดา 4.สระแก้ว มี 4 ตำบล 207,500 ไร่ หรือ 332.0 ตร.กม. ใน อ.อรัญประเทศ และ อ.วัฒนานคร 5.ตราด มี 3 ตำบล 31,375 ไร่ หรือ 50.2 ตร.กม. ใน อ.คลองใหญ่ทั้งอำเภอ “ต้องขยายพื้นที่กว้างขึ้น จากเดิม เพื่อให้การพัฒนาขยายไปยังอำเภอติดกันให้ไปด้วยกันเป็นคลัสเตอร์ (การพัฒนารวมกลุ่ม) เพราะพื้นที่เดิมอาจมีปัญหาเป็นพื้นที่ป่าไม้ เช่น แม่สอด 5,603 ไร่ อาจจะติดพื้นที่ป่าไม้จะนำมาพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรมจะเช่าช่วงเพื่อประกอบ กิจการไม่ได้ หากผู้ประกอบการจะลงทุนจะไปที่แม่ระมาดแทนก็ได้” สำหรับ จุดที่ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ยังยึดด่านชายแดนเป็นที่ตั้งเหมือนเดิม คือ ด่านแม่สอด, สะเดา-ปาดังเบซาร์, คลองใหญ่, มุกดาหารและอรัญประเทศ ขณะเดียวกันรัฐบาลจะดึงนักลงทุนไทยและต่างประเทศเข้ามาลงทุนในพื้นที่ เช่น จีน ญี่ปุ่น 3.7 หมื่น ล.โครงสร้างพื้นฐาน ส่วนการลง ทุนโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากรใน 5 พื้นที่ ล่าสุดกระทรวงคมนาคมจะลงทุนรวม 60 โครงการ วงเงิน 84,975 ล้านบาทแยกเป็นระยะเร่งด่วน ปี 2558-2559 จำนวน 40 โครงการ วงเงิน 37,124 ล้านบาท เช่น ถนน สะพาน สนามบิน วงเงิน 30,114 ล้านบาท ด่านชายแดน 23 โครงการ วงเงิน 4,644 ล้านบาท ระบบไฟฟ้า ประปา 7 โครงการ วงเงิน 2,364 ล้านบาท ที่เหลือเป็นระยะยาวปี 2560-2564 “โครงสร้างพื้นฐานจะมีเวน คืนที่ดิน เช่น ตัดถนนใหม่ มอเตอร์เวย์ ขยายสนามบิน รถไฟ ปัจจุบันราคาที่ดินแพงมาก แต่เป็นปกติที่ภาคเอกชนเก็งกำไรไว้ เมื่อรู้ว่าตรงไหนจะพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่ตรงไหนแพงมากคงไม่มีใครไปพัฒนา ต้องดูให้สมน้ำสมเนื้อ และรัฐจะเวนคืนยึดตามราคาประเมินของรัฐเป็นหลัก” เวนคืนที่ผุดถนน-รถไฟ แหล่ง ข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า โครงสร้างพื้นฐานที่จะต้องเวนคืนที่ดิน ประกอบด้วย 1.พื้นที่ชายแดน จ.ตาก อาทิ โครงการสะพานแม่น้ำเมย แห่งที่ 2 พร้อมถนน 4 เลน 22.5 กม. (ฝั่งไทย 17 กม. และเมียนมาร์ 4.5 กม.) วงเงิน 3,900 ล้านบาท มีค่าก่อสร้าง 3,600 ล้านบาท และค่าเวนคืน 300 ล้านบาท, ซื้อหรือเวนคืนที่ดิน 320 ไร่ วงเงิน 200 ล้านบาท ขยายทางวิ่งสนามบินแม่สอด, ก่อสร้างด่านศุลกากรแห่งใหม่ และก่อสร้างถนนตามผังเมือง 3 เส้นทาง 2.พื้นที่ชายแดนสระแก้ว มีตัดถนนใหม่จากบ้านหนองเอี่ยน-สตรึงบท 22 กม. วงเงิน 2,765 ล้านบาท และเร่งปรับปรุงเส้นทางรถไฟสายคลอง 19-คลองลึก 200 กม.ให้เสร็จปี 2559, หาพื้นที่ก่อสร้างด่านศุลกากรแห่งที่ 2 3.พื้นที่ชายแดน จ.ตราด ขยายถนนช่วงตราด-หาดเล็ก เป็นต้น 4.พื้นที่ชายแดนมุกดาหาร มีตัดถนน 4 เลน สายกาฬสินธุ์-นาไคร้-อ.คำชะอี 107 กม. วงเงิน 5,400 ล้านบาท และก่อสร้างรถไฟสายใหม่จากบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม 347 กม. วงเงิน 42,106 ล้านบาท และ 5.พื้นที่ชายแดนสงขลา ด่านสะเดา-ปาดังเบซาร์ มีก่อสร้างมอเตอร์เวย์สายหาดใหญ่-ด่านสะเดา 64 กม. วงเงิน 23,900 ล้านบาท เก็งกำไรที่ดินพุ่ง 6-7 เท่า แหล่ง ข่าวจากสำนักงานที่ดินจังหวัดตาก สาขาแม่สอด เปิดเผยว่า จากการประกาศนโยบายพัฒนาพื้นที่บริเวณด่านชายแดน อ.แม่สอด เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่งผลให้การซื้อขายที่ดินคึกคักขึ้น จากเดิมเคยมีธุรกรรมเฉพาะซื้อ-ขายที่ดินวันละ 10 ราย ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 20 ราย มีทั้งกลุ่มที่ต้องการซื้อเพื่อพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย โรงงาน ศูนย์การค้า และกลุ่มนายทุนที่ซื้อเพื่อเก็งกำไร ที่ผ่านมามีกระแสข่าวห้างโรบินสันและบิ๊กซีให้นายหน้ารวบรวมที่ดิน โดยทำเลที่ได้รับความนิยมคือถนนที่มุ่งหน้าตลาดริมเมย ห่างจากด่านชายแดน 5-10 กิโลเมตร เท่าที่ทราบปัจจุบันประกาศขายไร่ละ 50-60 ล้านบาท ช่วง 1 ปีที่ผ่านมาขยับขึ้นไม่ต่ำกว่า 50% เช่นเดียวกับที่ จ.มุกดาหาร โดยเฉพาะบริเวณถนนชยางกูร ราคาพุ่งขึ้น 6-7 เท่า จาก 2 ปีที่ผ่านมาซื้อขายไร่ละ 1 ล้านบาทเศษ ปัจจุบันไร่ละกว่า 7-10 ล้านบาท และบริเวณถนนมุกดาหาร-ดอนตาลช่วงต้น ๆ จากไร่ละ 6 แสน-1 ล้านบาทเศษ ขยับขึ้นเป็น 1.5-4 ล้านบาท โดยมีกลุ่มนายทุนท้องถิ่นและต่างจังหวัดเข้ามาซื้อที่ดินแปลงใหญ่ตั้งแต่ 10-50 ไร่ ขณะที่การซื้อขายที่ดินใกล้กับด่านชายแดน อ.สะเดา มีทั้งกลุ่มทุนต่างชาติในรูปแบบบริษัทร่วมทุนและนักเก็งกำไรเข้ามาซื้อ ที่ดิน ก่อนหน้านี้มีนักลงทุนชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนซื้อที่ดิน 40-50 ไร่ ใกล้กับด่านชายแดน ส่วนกลุ่มที่เก็งกำไรเป็นที่ดินแปลงเล็กเนื้อที่ไม่เกิน 1 ไร่ ทำเลที่ได้รับความนิยมถนนกาญจนวนิชที่มุ่งหน้าด่านชายแดน ประกาศขายไร่ละกว่า 10 ล้านบาท จาก 1-2 ปีก่อนไร่ละ 8 ล้านบาท ส่วน ที่ จ.สระแก้ว พื้นที่ส่วนใหญ่ 80% เป็นเขตป่าไม้ มีเอกสารสิทธิเพียง 20% ที่ดินบริเวณตลาดโรงเกลือ ไร่ละ 5-6 ล้านบาท และบริเวณถนนสุวรรณศร เส้นทางหลักมุ่งหน้าสู่ตลาดโรงเกลือ ไร่ละ 6-7 ล้านบาท ขอบคุณข้อมูลจาก : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารอสังหาริมทรัพย์ เพิ่มเติมได้ที่ : www.TerraBKK.com

อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ : TerraBKK.com - http://terrabkk.com/?p=36774
กรมประชาสัมพันธ์
วันที่ข่าว : 13 พฤศจิกายน 2557
รัฐบาลเร่งแจ้งเกิด 5 เขตเศรษฐกิจพิเศษ กนพ.ไฟเขียวขยายพื้นที่ครอบคลุม 36 ตำบล รวม 1.83 ล้านไร่ รมช.คมนาคม เผยยึดพัฒนาหน้าด่าน เตรียมเวนคืนผุดถนน-มอเตอร์เวย์-รถไฟ-ขยายสนามบิน นักเก็งกำไรปั่นราคาพุ่ง 6-7 เท่า แม่สอดทะลุไร่ละ60 ล้าน ระทึกเวนคืนขยายพื้นที่เพิ่ม 1.8 ล้านไร่

อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ : TerraBKK.com - http://terrabkk.com/?p=36774
เขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ และการขนส่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้ประโยชน์จากการที่ไทยมีพื้นที่ชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เป็นประตูรองรับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือไอทีดี ได้วิจัยเรื่อง “แนวทางและมาตรการเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่แนวชายแดนของไทย”
โดยหัวหน้าโครงการ กรกรัณย์ ชีวะตระกุลพงษ์ กล่าวว่า จากการศึกษาแนวทางการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดนจากหลายประเทศ พบว่าการจัดรูปแบบเขตเศรษฐกิจพิเศษของไทยแตกต่างจากประเทศอื่น เนื่องจากเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนและบริหารงานโดยเอกชน และนิคมอุตสาหกรรมของไทยยังเป็นทั้งเขตการผลิตและส่งออกและถึงแม้รูปแบบการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนของไทย จะต่างจากที่อื่นแต่มีจุดประสงค์คล้ายกันคือ เพื่อกระตุ้นและใช้ประโยชน์จากการเป็นจุดเชื่อมโยงของระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridor) รวมทั้งเป็นการกระชับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้านตามแนวชายแดนให้มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าสู่ประเทศไทยด้วย
เหตุผลที่ทำให้การพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนกลายมาเป็นประเด็น เนื่องจากรัฐบาลต้องการจะส่งเสริมการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนท้องถิ่นให้มาลงทุนในบริเวณพื้นที่ ซึ่งรัฐบาลจะจัดสรรตามตะเข็บชายแดน โดยใช้ประโยชน์จากแรงงานต่างด้าวแบบเช้าไปเย็นกลับ อีกทั้งสามารถนำเข้าวัตถุดิบและส่งออกได้โดยเสรี นอกจากนี้ งานวิจัยยังได้ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพและอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจบริเวณชายแดนของไทยว่า การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำให้มองเห็นโอกาสในการพัฒนาตลาด แหล่งวัตถุดิบ รวมทั้งแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานและค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้น ขณะที่อุปสรรค คือ ความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทยและเพื่อนบ้าน ปัญหาจากกฎระเบียบในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านลุ่มน้ำโขง (ซีแอลเอ็มวี) ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม รวมทั้งปัญหาโครงสร้างพื้นฐานในแต่ละประเทศที่ไม่เท่ากันและไม่เพียงพอ ซึ่งคณะวิจัยได้เสนอแนวทางการพัฒนาควรแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ.-
*การเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อการผลิต ระยะสั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นเข้าไปดำเนินการ มีขนาดไม่ใหญ่เกินไป มีรั้วชัดเจน และกระจายตามแนวชายแดนที่มีแรงงาน ระยะยาวเน้นพัฒนาเขตเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อแบ่งงานตามความชำนาญ การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และส่งเสริมการเข้าไปลงทุน
*การเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อการบริการ เน้นการพัฒนาประเทศโดยรวม ขนาดใหญ่เพียงแห่งเดียวในประเทศ และไม่จำเป็นต้องอยู่บริเวณชายแดน
เขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดนมีความจำเป็นต่อประเทศไทย เพราะในอนาคตจะกลายเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ยังมีอุปสรรคคือ ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ทำให้นโยบายดำเนินการไม่ต่อเนื่อง ปัจจุบันไทยมีนโยบายจะจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนใน 5 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว ตาก มุกดาหาร ตราด และจังหวัดสงขลา ปรากฏว่าบริษัทญี่ปุ่นหลายรายสนใจที่จะเข้ามาลงทุน ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูล เงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ ตลอดจนรอนโยบายที่ชัดเจนของไทย

เรียบเรียงโดย พรรณี ตั้งใจสถาปัตย์
ข้อมูลข่าวและที่มา
จำนวนผู้เข้าชม : 152
ผู้สื่อข่าว : อริสา เตียงบุญลาภ
Rewriter : สุริยน ตันตราจิณ
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th

No comments:

Total Pageviews

birdmydog - View my most interesting photos on Flickriver

Popular Posts

Translate

mobilizerthai's shared items

Popular Posts

Blog Archive

Search This Blog

wut do you favor on top in community future???

ding ding

About Me