follow

Thursday 25 March 2010

คือว่าชอบพวกไม้มงคลอยู่น่ะค่ะ และก็เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาก็ชอบค่ะองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ( World Intellectual Property Organization – WIPO )




e


still interrest and focus but how to fight and find more market??????

ลองติดตามกันดูค่ะ



Intergovernmental Committee on Intellectual Property and Genetic Resources,
Traditional Knowledge and Folklore (IGC)

1. ภูมิหลัง


1.1 การประชุม Intellectual Property and Genetic Resources, Traditional Knowledge and Folklore (IGC) ครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อปี 2544 ณ สำนักงานใหญ่ WIPO นครเจนีวา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือเกี่ยวกับร่างบทบัญญัติเพื่อคุ้มครองภูมิปัญญา ท้องถิ่นประเภทต่างๆ ได้แก่

(1) ทรัพยากรพันธุกรรม (Genetic Resources) อาทิ พันธุ์พืชต่างๆ

(2) องค์ความรู้ของชุมชนท้องถิ่น (Traditional Knowledge) อาทิ การแพทย์แผนโบราณ นวัตกรรมท้องถิ่น และ

(3) ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน (Folklore/Traditional Cultural Expressions) อาทิ ศิลปะท้องถิ่น ความเชื่อ ดนตรีพื้นเมือง


http://www.mfa.go.th/business/2318.php?id=3840
การประชุมIntergovernmental Committee on Intellectual Property and Genetic Resources ,Traditional Knowledge and Folklore ( IGC ) ครั้งที่ ๑๖ ระหว่างวันที่ ๓ – ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ณ สำนักงานใหญ่ WIPO นครเจนีวา

2. ท่าทีไทย


ไทยสนับสนุนให้มีการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นในระดับระหว่างประเทศ ในรูปแบบ international legal instrument(s) โดยให้มีการจัดตั้ง interessional working group ภายใต้ IGC โดยเน้นหลักความโปร่งใสและความมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ไทยได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายมีความยืดหยุ่นในเรื่องดังกล่าวเพื่อให้สามารถ บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ นอกจากนี้ เห็นว่า WIPO ควรให้การสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการเตรียมความพร้อมในเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดทำกฎหมายภูมิปัญญาท้องถิ่นระดับชาติและการทำฐาน ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น

*************************
http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=maipradab&id=18

หยกเนื้อยิ่งใสยิ่งมีราตาแพงและเลี้ยงยากครับ

หยก ต้นนี้เนื้อเหลืองใสแถมยอดแดงคือ "หยกทองนพเก้า" ซึ่งเป็นหยกที่สวยที่สุดแพงที่สุดและเลี้ยงยากที่สุดครับ

แต่ถ้า เนื้อเหลืองใสแบบนี้ทุกส่วนไม่มีสีแดงปนเลยคือ หยกทองนพคุณ ชั้นรองลงไปคือหยกเนื้อเหลืองขุ่นมีสีแดงปน ถ้าแดงมากคือ หยกมหาลาภ ถ้าแดงน้อยคือหยกมหาโชค(คือต้นใน คห.22 นั่นแหละ - และเป็นคนละชนิดกับหยกนำโชคนะครับ)

แต่ถ้าเนื้อเป็นสีขาวอมเทาฟ้า ยอดแดงเรื่อๆ นั่นคือหยกทับทิม ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของหยกเนื้อเหลืองทุกชนิด หยกทับทิมก็กลายมาจากหยกพระเทพ(สีเขียว) หยกพระเทพก็กลายมาจากต้นสลัดไดธรรมดาๆ นี่เอง

http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2009/05/J7840009/J7840009.html

http://www.rmutphysics.com/CHARUD/OLDNEWS/103/index103.htm



ผลิตหยกเพื่อการส่งออก
วันที่ 01 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 18 ฉบับที่ 368

ชื่อวงศ์ : Euphorbiaceae (วงศ์สลัดได)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euphorbia lactea (สลัดไดเหลือง)
ชื่อสามัญ : Crested euphorbia , Frilled Fan และ Elkhorn (หยก)
หยก เป็นพืชในวงศ์สลัดได (Euphorbiaceae) ซึ่งเป็นไม้เขตร้อน มีทั้งไม้ต้นและไม้พุ่ม บางชนิดลักษณะคล้ายพวกกระบองเพชร น้ำยางมีสีขาวเป็นพิษ บางชนิดเป็นไม้ใบประดับมีสีสันสะดุดตา เช่น คริสต์มาส โกสน โป๊ยเซียน หางกระรอก ปัตตาเวีย พญาไร้ใบ และส้มเช้า เป็นต้น พืชในวงศ์นี้พบมากประมาณ 320 สกุล (Genus) หยก อยู่ในสกุล Euphorbia ซึ่งเป็นกลุ่มพืชที่มีลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ ลำต้นอวบน้ำ และมียางสีขาวที่เป็นพิษ (poisonous, irritant white latex) พืชสกุลนี้มีเกือบ 2,000 ชนิด (Species) และพบมากกว่า 500 ชนิด ในเขตแห้งแล้งของแอฟริกา และหมู่เกาะมาดากัสการ์
หยก มีรูปแบบการเจริญเติบโตแตกต่างกัน แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. แตกเป็นรูปเขากวาง (Forming a cluster) ประกอบด้วยกิ่งแขนงแตกเป็นกลุ่มรอบโคนต้น คล้ายเขากวาง บนขอบหรือสันกิ่งมีใบและหนามขนาดเล็กเป็นระยะๆ เช่น หยกพันธุ์มงคล และพันธุ์มังกรแดง
2. แผ่เป็นรูปพัด (fan shaped) เป็นต้นเดี่ยวที่แขนงติดกันเป็นแผงรูปพัด แนวสัน (ridges) จะเป็นริ้วอยู่ทั่วแผง มีใบและหนามอยู่บนสันเช่นกัน ต่อมาใบจะร่วงเหลือแต่บริเวณใกล้เรือนยอด (crowing tip) ส่วนหนามจะคงอยู่ทั่วแผง เช่น หยกพันธุ์ทองนพเก้า และพันธุ์ทองคำนพคุณ
3. แบบคลื่น (branched crested) เป็นต้นเดี่ยวที่แขนงติดกันเป็นแผง ไม่เป็นระนาบเดียวรูปพัด แต่จะพัฒนาแผ่ซ้อนเป็นร่องคลื่นคล้ายงูเลื้อย (forming a snaky ridge) เช่น หยกพันธุ์เบญจรงค์ และพันธุ์ทับทิม
"หยก" อดีตพืชอนุรักษ์ตามบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตส
ประชาคมโลกได้ร่วมกันยกร่างอนุสัญญาระหว่างประเทศฉบับหนึ่ง เพื่อป้องกันพืชป่าและสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ไม่ให้หมดสิ้นไปจากการค้าระหว่างประเทศในปี 2516 อนุสัญญาดังกล่าว คือ อนุสัญญาไซเตส (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora : CITES) หรือ อนุสัญญาการค้าระหว่างประเทศว่าด้วยชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ซึ่งควบคุมการค้าพืชป่าและสัตว์ป่าด้วยระบบใบอนุญาตนำเข้าและส่งออก
เป้าหมายของอนุสัญญาไซเตส คือ มุ่งอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าในโลก เพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ โดยเน้นทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือถูกคุกคามจนอาจเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ได้ในอนาคต ด้วยการสร้างเครือข่ายทั่วโลกในการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ ทั้งสัตว์ป่า พืชป่า และผลิตภัณฑ์
ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาไซเตส ในปี 2521 และได้ออกกฎหมายฉบับหนึ่งมารองรับการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดในอนุสัญญาฉบับดังกล่าวคือ พระราชบัญญัติพันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 โดยออกมาควบคุมการค้าพืชป่าตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ หรือที่รู้จักกันดีในนาม "พืชอนุรักษ์"
พืชอนุรักษ์ ต้องเป็นพืชตามบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตส โดยแบ่งเป็น 3 บัญชี
บัญชีที่ 1 เป็นชนิดพันธุ์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ห้ามทำการค้าโดยเด็ดขาด ยกเว้นเพื่อการศึกษา วิจัย หรือเพาะขยายพันธุ์เทียม ซึ่งจะต้องได้รับความยินยอมจากประเทศที่จะนำเข้าเสียก่อน ประเทศส่งออกจึงจะออกใบอนุญาตส่งออกได้ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความอยู่รอดของชนิดพันธุ์นั้นๆ ด้วย เช่น กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum spp.) ของประเทศไทย เป็นต้น ปัจจุบันมีประมาณ 310 ชนิด (species) 3 ชนิดย่อย (subspecies) และ 1 กลุ่มประชากร
บัญชีที่ 2 เป็นชนิดพันธุ์ที่ยังไม่ถึงกับใกล้จะสูญพันธุ์ จึงยังอนุญาตให้ค้าได้ แต่ต้องมีการควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วจนถึงจุดใกล้จะสูญพันธุ์ โดยประเทศที่จะส่งออกต้องออกใบอนุญาตส่งออกกำกับให้และรับรองว่าการส่งออกแต่ละครั้งจะไม่กระทบกระเทือนต่อการดำรงอยู่ของชนิดพันธุ์นั้นๆ ในธรรมชาติ เช่น หยก โป๊ยเซียน ปัจจุบันมีประมาณ 24,881 ชนิด 3 กลุ่มย่อย และ 1 กลุ่มประชากร
บัญชีที่ 3 เป็นชนิดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่ง แล้วขอความร่วมมือจากประเทศภาคีให้ช่วยกำกับดูแลการนำเข้า กล่าวคือ ต้องมีหนังสือรับรองการส่งออกจากประเทศถิ่นกำเนิด ปัจจุบันมีประมาณ 5 ชนิด และ 1 กลุ่มประชากร
เนื่องจากการค้าพืชอนุรักษ์ของประเทศไทยอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติพันธุ์พืช (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2535 ได้กำหนดมาตรการสำคัญมารองรับการค้าพืชอนุรักษ์ไว้ 2 มาตรการ คือ มาตรการขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงพืชอนุรักษ์ และมาตรการควบคุมการส่งออกพืชอนุรักษ์ด้วยระบบใบอนุญาต ซึ่งกำหนดให้ผู้ที่จะส่งออกพืชอนุรักษ์จะต้องขอใบอนุญาตส่งออกจากฝ่ายการค้าพืชตามอนุสัญญา กองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร หรือด่านตรวจพืชท่าอากาศยานกรุงเทพฯ ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานเชียงใหม่ ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานภูเก็ต และด่านตรวจพืชท่าอากาศยานหาดใหญ่ ซึ่งในใบอนุญาตส่งออกต้องระบุแหล่งที่มาของพืชอนุรักษ์ รวมถึงเอกสารประกอบอื่นๆ เช่น เอกสารอนุญาตนำเข้าของประเทศปลายทาง บางประเทศ เป็นต้น ในขณะที่พืชที่ไม่ใช่พืชอนุรักษ์ สามารถยื่นขออนุญาตส่งออกได้ที่ด่านตรวจพืชทั่วประเทศ
ในการประชุมสมัยสามัญภาคีสมาชิกอนุสัญญาไซเตส ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 2-14 ตุลาคม 2547 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เสนอพืช 4 ชนิด เข้าพิจารณา ได้แก่ ฟ้ามุ่ย หยก โป๊ยเซียน และกล้วยไม้ลูกผสม ปรากฏว่า หยก เป็นไม้ชนิดแรกที่ได้รับฉันทานุมัติจากที่ประชุมไซเตส ให้ออกจากบัญชี 2 สามารถทำการค้าขายได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยใช้เวลาในการพิจารณาไม่มากนัก ไม่มีประเทศใดคัดค้านเลย อย่างไรก็ตาม แม้จะยกหยกออกจากบัญชี 2 แล้ว แต่ในทางปฏิบัติก็ยังต้องขอใบอนุญาตส่งออกตามอนุสัญญาไซเตสอยู่ เนื่องจากประเทศผู้นำเข้ายังต้องการเอกสาร
พันธุ์หยกที่ปลูกเป็นการค้าในประเทศไทยในปัจจุบัน
เนื้อหยกจะมี 2 ลักษณะ คือ หยกเนื้อทึบ ซึ่งเนื้อหยกจะมีคลอโรฟีลล์ข้างในสีเขียว และหยกเนื้อใส คือเนื้อข้างในจะใสไม่มีสีคลอโรฟีลล์ หยกเนื้อใสจะเจริญเติบโตช้ากว่าหยกเนื้อทึบ หยกทั้งสองชนิดมีชื่อเรียกสายพันธุ์ต่างๆ หรือในวงการค้าเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในเรื่องชื่อ จึงใช้โทนสีบนแผงของหยกเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งมีทั้งหมด 7 สี
หยกเนื้อทึบคลอโรฟีลล์ข้างในสีเขียว หยกเนื้อใสคลอโรฟีลล์ข้างในไม่มีสี
การแบ่งหยกตามโทนสี
- โทนสีเหลือง เช่น หยกทองคำ ทองคำนพคุณ
- โทนสีแดง เช่น หยกมหาลาภ
- โทนสีเขียว เช่น หยกพระเทพ เบญจรงค์ มงคล มังกรหยก
- โทนสีม่วง เช่น หยกม่วงสยาม
- โทนสีเหลืองอมส้ม เช่น หยกทองนพเก้า ทองศุภโชค
- โทนสีเหลืองอมเขียว เช่น หยกเอราวัณ
- โทนสีแฟนซี (ตั้งแต่ 3 สี ขึ้นไป) เช่น หยกสุริยา เพชรลายทอง ขุมทรัพย์
การผลิตหยก
ประกอบด้วยขั้นตอนหลักๆ 2 ขั้นตอน คือ
1. การเตรียมต้นตอ
ต้นตอ ใช้ต้นส้มเช้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Euphorbia meriifolia Linn. syn. E. ligularia Roxb.อยู่ในวงศ์ Euphorbiaceae เป็นไม้พุ่มขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 4-5 ฟุต เปลือกของลำต้นสีเขียว มียางมากเป็นพิเศษ ตอนเช้าจะมีรสเปรี้ยวจัดมาก ตอนสายรสเปรี้ยวจะลดน้อยลงทันที และตอนกลางวันรสเปรี้ยวจะหมดไป จึงเรียกว่าส้มเช้า ต้นส้มเช้าเป็นพืชที่ทนทานต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดี สามารถเจริญงอกงามได้ดีกับดินทุกชนิด เดิมใช้ต้นส้มเช้าซึ่งมีลักษณะต้นเหลี่ยม แต่เนื่องจากต้นตอเหลี่ยม ใบจะเหลืองและร่วงง่าย และมักเป็นโรคที่ใบได้ง่าย โดยเฉพาะราสนิม และแคงเกอร์ เมื่อมีการพบต้นส้มเช้าตอกลมโดยบังเอิญแล้วนำมาทดลองเสียบดู ปรากฏว่าหยกเจริญเติบโตได้ดี และเร็ว ประกอบกับพบปัญหาที่ใบน้อยกว่าต้นเหลี่ยม ปัจจุบันจึงนิยมใช้ส้มเช้าต้นกลม
ตัดยอดต้นส้มเช้า ให้ได้ขนาดสูงประมาณ 7-8 เซนติเมตร แล้วนำมาชำในวัสดุปลูก โดยใช้ดินใบก้ามปู 2 ส่วน แกลบ 1 ส่วน ปุ๋ยคอก 0.5-1 ส่วน มะพร้าวสับเล็ก 0.5-1 ส่วน โดยนำส่วนผสมต่างๆ ผสมให้เข้ากัน รดด้วยวิตามิน บี 1 (อัตราส่วน 4-5 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร) พักไว้ 2-3 วัน ก่อนนำไปใช้ โดยฝังต้นตอลึกประมาณ 0.5 ของกระถาง ในช่วงฤดูหนาวการเจริญเติบโตจะช้ากว่าปกติ จะต้องปักชำต้นตอให้ลึกประมาณ 3/4 ของกระถาง และตัดยอดต้นส้มเช้าให้สูงกว่าปกติ หลังจากนั้นใช้เวลาประมาณ 45-60 วัน ต้นตอจะเจริญสูงขึ้น มีรากและต้นขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับต้นหยกที่นำมาเสียบ และได้ต้นตอสูงประมาณ 12-15 เซนติเมตร เผื่อไว้สำหรับตัดยอดออกอีกประมาณ 1-2 เซนติเมตร ตอนเสียบหยก
ปัจจุบัน จะมีแหล่งที่ปลูกต้นส้มเช้าเพื่อใช้เป็นต้นตอ โดยใช้ระยะปลูก 1x1 เมตร ต้นส้มเช้า 1 ต้น จะผลิตได้ 20-30 ยอด สามารถตัดได้ทุกเดือน โดยส้มเช้าตอเดิมจะมีอายุให้ตัดยอดได้ประมาณไม่เกิน 5 ปี
2. การเสียบยอด
ตัดยอดต้นตอส้มเช้า แล้วผ่าต้นตอให้เป็นรูปตัว V หรือรูปลิ่มโดยมีดที่ใช้ต้องคม และควรจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อนผ่า เลือกหยกแม่พันธุ์ที่ต้องการขยายมาเสียบยอด ควรเลือกต้นพันธุ์ที่หยกมีเนื้อใหญ่ สมบูรณ์ ถ้าจะให้ได้คุณภาพดี หยกควรมีลักษณะเป็นรูปพัด ไม่บิดงอ เพื่อจะได้ลักษณะที่ดีมีคุณภาพ และเนื้อหยกพัฒนาได้ดี โดยตัดเนื้อหยกเป็นรูปลิ่ม ขนาดกว้างของเนื้อหยกประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร มาเสียบลงในต้นตอ ซึ่งหยกต้นพันธุ์ขนาดกว้าง 12 เซนติเมตร จะตัดนำไปเสียบยอดได้ประมาณ 8 ชิ้น ขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร จะตัดได้ประมาณ 20 ชิ้น เมื่อเสียบยอดแล้วใช้เชือกฟางมัดให้แน่น โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว เนื้อหยกจะยุบตัวง่าย เนื่องจากการขยายเยื่อเจริญเป็นไปได้ช้า ต้องมัดให้แน่นขึ้นให้กระชับ ไม่ให้อากาศแทรกเข้าได้ แต่ไม่ถึงกับต้องแน่นตึงเกินไป เพราะจะทำให้เนื้อหยกที่เสียบเน่าได้ง่ายเช่นกัน
วิธีการผูกเชือกให้แน่น ใช้เชือกฟางเส้นเล็กมัดต้นตอให้ชิดด้านใดด้านหนึ่ง นำเชือกอีกด้านหนึ่งดึงขึ้นมาพาดให้ชิดเนื้อหยก แล้วใช้นิ้วชี้กดเชือกที่พาดผ่านเนื้อหยกไว้ พร้อมกับใช้ปลายเชือกอีกด้านหนึ่งพันรอบต้นตอหลายๆ รอบ ตรงบริเวณรอยเชื่อม จากนั้นจึงมัดปลายเชือกทั้งสองเข้าด้วยกันจนแน่น
การเสียบยอดหยกเนื้อใส จะต้องพิถีพิถันมากเป็นพิเศษ ผิวหยกต้องไม่ช้ำ ต้องแต่งเนื้อหยกให้สวย มีดต้องคม เนื่องจากเกิดความเสียหายได้ง่าย จึงไม่สามารถผลิตจำนวนมากได้ แต่ตลาดทั้งในและต่างประเทศต้องการมาก ส่วนใหญ่จะผลิตได้ 10-20% ของผลผลิตทั้งหมด ความสามารถในการเสียบยอดต่อวัน ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง เสียบได้ประมาณ 300-500 ยอด ต่อ 1 คน แล้วแต่ความชำนาญ
เมื่อเสร็จกระบวนการเสียบยอดเรียบร้อยแล้ว นำต้นที่เสียบยอดเรียบร้อยแล้วไปไว้ในตู้อบพลาสติกที่ปิดมิดชิด อบไว้ประมาณ 7-10 วัน หากวันที่ไม่มีแดด หรือแสงแดดน้อยจะเปิดไฟให้ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ได้รับแสง เนื้อเยื่อหยกที่นำมาเสียบจะได้ติดเร็วขึ้น จากนั้นนำไปวางไว้ใต้ตาข่ายพรางแสง 60% จะทำให้เนื้อหยกไม่หยาบกร้าน ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน จึงตัดเชือกที่ผูกออก หรือถ้าไม่อบในตู้พลาสติก เมื่อเสียบยอดเสร็จเรียบร้อยแล้วจะใช้ถุงพลาสติกคลุมแต่ละต้น ใช้ที่เย็บกระดาษเย็บ วางไว้ใต้ตาข่ายพรางแสง 80% ประมาณ 7-10 วัน แล้วแกะถุงพลาสติกออก รอไว้อีกประมาณ 2-3 วัน จึงตัดเชือก แล้ววางไว้ใต้ตาข่ายพรางแสง 80% อีกประมาณ 2 สัปดาห์ จึงค่อยนำออกไปเลี้ยงใต้โรงเรือนตาข่ายพรางแสง 60% ใช้เวลาประมาณ 2 เดือนครึ่ง จะได้ขนาดหยกกว้าง 12-14 เซนติเมตร เรียกว่า size 1 หรือใช้เวลาประมาณ 3 เดือน จะได้ขนาดหยกกว้าง 15-17 เซนติเมตร เรียกว่า size 2
การปฏิบัติดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย ไม่มีผลการทดสอบที่แน่ชัดในเรื่องของปุ๋ย แต่ต้นส้มเช้ามีการตอบสนองต่อปุ๋ยได้ดี ที่เกษตรกรปฏิบัติอยู่คือให้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 หรือ 16-16-16 เดือนละครั้ง ประมาณ 1 ช้อนชา ต่อกระถางขนาด 5-6 นิ้ว ให้ปุ๋ยทางใบ 10 วัน ต่อครั้ง โดยใช้สูตรเสมอ เช่น 13-13-13, 20-20-20 และเสริมด้วยสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชเพื่อเร่งต้น เร่งใบ และวิตามิน บี 1 เป็นครั้งคราว โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวที่พืชจะมีการเจริญเติบโตช้า แต่สำหรับในช่วงฤดูฝนจะหยุดให้ปุ๋ย เนื่องจากถ้าให้ปุ๋ยในช่วงนี้จะพบปัญหาต้นเน่ามาก นอกจากนั้น เมื่อถึงระยะที่จะนำต้นตอมาเสียบยอดได้ ในช่วงก่อนที่จะนำมาเสียบยอด ถ้าเดิมมีการให้ปุ๋ยอยู่ ก็ต้องหยุดให้ปุ๋ยประมาณ 10 วัน ก่อนนำต้นพันธุ์มาเสียบยอด เนื่องจากการเพิ่มไนโตรเจนจะมีโอกาสทำให้เน่าได้ง่าย
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช ทุก 10-15 วัน จะต้องใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรา และแมลง ถ้าระบาดมากก็ต้องใช้ถี่ขึ้น ประมาณทุก 7 วัน
คุณลักษณะของหยกเพื่อการส่งออก
การผลิตหยกเพื่อการส่งออกจะต้องมีคัดขนาดและคุณภาพ เพื่อให้มีคุณลักษณะดังนี้

1. ต้องมีขนาดได้มาตรฐานตามที่กำหนด ซึ่งที่นิยมมี 2 ขนาด ดังนี้
1. ขนาดความสูงของต้นตอจากปากกระถาง ประมาณ 10-12 เซนติเมตร หยกกว้าง 12-14 เซนติเมตร โดยวัดความกว้างของหยกตรงส่วนที่กว้างที่สุด จากขอบด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง เรียกว่า size 1 อยู่ในกระถางขนาด 5 นิ้ว ราคาจำหน่ายประมาณ 20-25 บาท สำหรับหยกเนื้อทึบ และประมาณ 50 บาท สำหรับหยกเนื้อใส ส่วนใหญ่จะนิยมซื้อขนาด size 1
2. ขนาดความสูงของต้นตอจากปากกระถางประมาณ 10-12 เซนติเมตร หรือบางสวนจะใช้ตอขนาดสูงกว่า เพื่อย่นระยะเวลาการผลิตให้ได้เร็วขึ้น โดยใช้ตอสูงประมาณ 18-20 เซนติเมตร ขนาดหยกกว้าง 15-17 เซนติเมตร เรียกว่า size 2 อยู่ในกระถางขนาด 5 นิ้ว ราคาจำหน่ายประมาณ 30-50 บาท สำหรับหยกเนื้อทึบ และกระถาง 8 นิ้ว ประมาณ 70-80 บาท สำหรับหยกเนื้อใส
3. ขนาดความสูงบางครั้ง ผู้ซื้อมีความต้องการพิเศษ คือต้นตอเตี้ยกว่ามาตรฐาน (10-12 เซนติเมตร) โดยให้ตัดต้นตอส้มเช้าที่มีหยกเสียบติดได้ขนาดแล้วออกประมาณ 1/3-1/2 แล้วชำไว้อีกระยะหนึ่งประมาณ 1 เดือนกว่า ให้ออกรากใหม่ โดยชำในกระถางขนาด 3 นิ้ว แล้ววางลงในกระบะ ขนาดบรรจุ 15 กระถาง ต่อกระบะ หรือจำหน่ายให้ผู้ซื้อนำไปชำให้ออกรากเอง
2. ต้องสะอาด ปลอดโรคและแมลง
3. ลักษณะการพัฒนาของเนื้อหยกเป็นระเบียบ รูปทรงได้สัดส่วนไม่เอียง
วิธีการส่งออก
1. ล้างรากให้สะอาด แล้วจุ่มสารป้องกันกำจัดแมลง แล้วผึ่งให้แห้ง ใช้ทิชชูห่อหัวหยกป้องกันการเสียดสี แล้วห่อกระดาษหนังสือพิมพ์ใส่กล่อง ส่งขึ้นเครื่องบิน เช่น ส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น
2. ส่งทั้งกระถางไปทางเรือโดยใส่ตู้คอนเทนเนอร์ จะต้องลิดใบออกให้หมด โดยให้อดน้ำเพื่อทำให้ใบร่วงก่อนจะส่ง โดยช่วงที่ใกล้จะส่งประมาณ 10 วัน รดน้ำให้น้อยลง ค่อยๆ ให้อดน้ำ รวมทั้งต้องงดการให้ปุ๋ยด้วย และมีการฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงและเชื้อรา ก่อนส่งประมาณ 5 วัน โดย 1 ตู้คอนเทนเนอร์ บรรจุได้ประมาณ 7,000-9,000 กระถาง เช่น ส่งออกไปประเทศเนเธอร์แลนด์
3.ใช้ถุงพลาสติกขนาดถุงน้ำจิ้ม ห่อวัสดุปลูกรัดยาง แล้วใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อ เช่น ส่งออกไปประเทศมาเลเซีย
ต้นทุนการผลิต
หยก Size1 ประมาณ 7-12 บาท ต่อต้น ราคาจำหน่ายประมาณ 20-25 บาท ต่อต้นสำหรับหยกเนื้อทึบ และประมาณ 50 บาท ต่อต้น สำหรับหยกเนื้อใส
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการผลิต
ช่วงฤดูฝน ต้องวางแผนการผลิตให้มาก เนื่องจากหยกจะเจริญเติบโตได้ดี
ช่วงฤดูหนาว ผลิตน้อยลง เนื่องจากการพัฒนาของเนื้อหยกจะไม่ดี

สถานการณ์การตลาดปี 2547 มีการส่งออกหยกไปยังประเทศต่างๆ รวม 31 ประเทศ ปริมาณรวมทั้งสิ้น 211,571 ต้น คิดเป็นมูลค่าประมาณ 4,866,133 บาท ประเทศที่ส่งออกไปมากที่สุด ได้แก่ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ปริมาณ 140,244 ต้น คิดเป็นร้อยละ 66.3 ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด อันดับ 2 ประเทศเดนมาร์ก ปริมาณ 27,233 ต้น คิดเป็นร้อยละ 12.9 และอันดับ 3 ประเทศญี่ปุ่น ปริมาณ 13,878 ต้น คิดเป็นร้อยละ 6.6 ของปริมาณส่งออกทั้งหมด
ปี 2548 ตลาดหยกเพื่อการส่งออกค่อนข้างดีมาก เนื่องจากการผลิตน้อยกว่าความต้องการของตลาดตั้งแต่ต้นปี 2548 จึงสามารถเพิ่มการผลิตได้จนถึงเดือนมกราคม 2549 แต่หลังจากนั้น ต้องวางแผนการผลิตให้เหมาะสมโดยต้องประสานกับผู้ส่งออกถึงปริมาณความต้องการของตลาด และไม่ผลิตจำนวนมากเกินความต้องการ เนื่องจากการระบายของภายในประเทศสำหรับหยก เป็นไปได้น้อย
การปรับปรุงพันธุ์ใหม่
การขยายพันธุ์หยกในปัจจุบันใช้วิธีการเสียบยอด ซึ่งเป็นการขยายพันธุ์ด้วยเนื้อเยื่อพืช เป็นช่องทางให้เกิดพันธุ์ใหม่ๆ ขึ้นมา โดยอาศัยการกลายพันธุ์ของเนื้อเยื่อที่กำลังเจริญเติบโต เช่น เนื้อเยื่อเจริญที่ปลายยอด เรียกการกลายพันธุ์ลักษณะนี้ว่า ไคเมอร่า (chimera) ผลของไคเมอร่า ทำให้เนื้อเยื่อพืชมีเซลล์ที่แตกต่างไปจากเซลล์ลำต้นปกติ เช่น จำนวนโครโมโซม เม็ดสี แอนโทไซยานิน หรือการมีคลอโรพลาสเปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้สีของเนื้อเยื่อเปลี่ยนแปลงไป เมื่อตัดท่อนพันธุ์ส่วนที่กลายพันธุ์แบบไคเมอร่านี้ไปขยายพันธุ์ต่อ จึงเป็นที่มาของพันธุ์ใหม่ๆ โดยมักนำหยกที่มีสีเพี้ยนออกไปจากสีพื้น เช่น สีพื้นเขียว แล้วมีแถบเหลืองเกิดขึ้นมาก็เฉือนเนื้อสีเหลืองไปเสียบยอด ทำเป็นต้นแม่พันธุ์ได้พันธุ์ใหม่ออกมา
*เอกสารอ้างอิง
กองคุ้มครองพันธุ์พืช. 2546. การประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อคัดค้านการยื่นจดทะเบียนพันธุ์หยกของบริษัท Las Palmas Innovations B.V. วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม 2546 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมกสิน ชั้น 3 อาคารพิพิธภัณฑ์พืชสิรินทร. กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กรุงเทพมหานคร. 65 น.
พรรณนีย์ วิชชาชู. 2546. หยก...ไม้ประดับภูมิปัญญาไทย หรือมิใช่ ในหนังสือพิมพ์กสิกร ปีที่ 76 ฉบับที่ 5. 30-37
ศิริพิณ ศรีพรรณพฤกษ์. 2547. "หยกส่งออก" ที่สวน "สถิต สีหมากสุก" ผลิตส่งนอกรายเดียวของเมืองนนท์ ในโลกเกษตรและอุตสาหกรรม ฉบับที่ 60. 50-51.
อังคณา สุวรรณกูฎ. 2546. การค้าพืชอนุรักษ์ สามมุมที่แตกต่าง ในหนังสือพิมพ์กสิกร ปีที่ 76 ฉบับที่ 5. 95-100.
เอื้อมพร วีสมหมาย ทยา เจนจิตติกุล และอรุณี วงศ์พนาสิน. 2541. พฤกษาพัน. โรงพิมพ์ เอช แอน กรุ๊ป จำกัด. 27, 412.
*ขอขอบคุณ
1. อาจารย์วิเชียร เนื้อเย็น บ้านเลขที่ 440/ค หมู่ 3 ต.ป่าโมก อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง 14310 โทร. (01) 916-1493
2. นายสถิตย์ สีหมากสุก บ้านเลขที่ 27/1 หมู่ 6 ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี โทร. (01) 903-4981
3. นายจีระศักดิ์ กีรติคุณากร กองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร
4. นายมานิตย์ ใจฉกรรจ์ ฝ่ายการค้าพืชตามอนุสัญญา กองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการ
ชัญญา ทิพานุกะ โทร. (02) 940-6128 กลุ่มส่งเสริมการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ กรมส่งเสริมการเกษตร
เกษตร
library.dip.go.th/multim5/edoc/14586.doc

ชื่อวงศ์ : Euphorbiaceae (วงศ์สลัดได)
ชื่อวิทยา ศาสตร์ : Euphorbia lactea (สลัดไดเหลือง)
ชื่อสามัญ : Crested euphorbia , Frilled Fan และ Elkhorn (หยก)

หยก เป็นพืชในวงศ์สลัดได (Euphorbiaceae) ซึ่งเป็นไม้เขตร้อน มีทั้งไม้ต้นและไม้พุ่ม บางชนิดลักษณะคล้ายพวกกระบองเพชร น้ำยางมีสีขาวเป็นพิษ บางชนิดเป็นไม้ใบประดับมีสีสันสะดุดตา เช่น คริสต์มาส โกสน โป๊ยเซียน หางกระรอก ปัตตาเวีย พญาไร้ใบ และส้มเช้า เป็นต้น พืชในวงศ์นี้พบมากประมาณ 320 สกุล (Genus) หยก อยู่ในสกุล Euphorbia ซึ่งเป็นกลุ่มพืชที่มีลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ ลำต้นอวบน้ำ และมียางสีขาวที่เป็นพิษ (poisonous, irritant white latex) พืชสกุลนี้มีเกือบ 2,000 ชนิด (Species) และพบมากกว่า 500 ชนิด ในเขตแห้งแล้งของแอฟริกา และหมู่เกาะมาดากัสการ์

หยก มีรูปแบบการเจริญเติบโตแตกต่างกัน แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. แตกเป็นรูปเขากวาง (Forming a cluster) ประกอบด้วยกิ่งแขนงแตกเป็นกลุ่มรอบโคนต้น คล้ายเขากวาง บนขอบหรือสันกิ่งมีใบและหนามขนาดเล็กเป็นระยะๆ เช่น หยกพันธุ์มงคล และพันธุ์มังกรแดง
2. แผ่เป็นรูปพัด (fan shaped) เป็นต้นเดี่ยวที่แขนงติดกันเป็นแผงรูปพัด แนวสัน (ridges) จะเป็นริ้วอยู่ทั่วแผง มีใบและหนามอยู่บนสันเช่นกัน ต่อมาใบจะร่วงเหลือแต่บริเวณใกล้เรือนยอด (crowing tip) ส่วนหนามจะคงอยู่ทั่วแผง เช่น หยกพันธุ์ทองนพเก้า และพันธุ์ทองคำนพคุณ
3. แบบคลื่น (branched crested) เป็นต้นเดี่ยวที่แขนงติดกันเป็นแผง ไม่เป็นระนาบเดียวรูปพัด แต่จะพัฒนาแผ่ซ้อนเป็นร่องคลื่นคล้ายงูเลื้อย (forming a snaky ridge) เช่น หยกพันธุ์เบญจรงค์ และพันธุ์ทับทิม

zvoltage:
การผลิตหยก ประกอบด้วยขั้นตอนหลักๆ 2 ขั้นตอน คือ:

1. การเตรียมต้นตอ:
ต้นตอ ใช้ต้นส้มเช้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Euphorbia meriifolia Linn. syn. E. ligularia Roxb.อยู่ในวงศ์ Euphorbiaceae เป็นไม้พุ่มขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 4-5 ฟุต เปลือกของลำต้นสีเขียว มียางมากเป็นพิเศษ ตอนเช้าจะมีรสเปรี้ยวจัดมาก ตอนสายรสเปรี้ยวจะลดน้อยลงทันที และตอนกลางวันรสเปรี้ยวจะหมดไป จึงเรียกว่าส้มเช้า ต้นส้มเช้าเป็นพืชที่ทนทานต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดี สามารถเจริญงอกงามได้ดีกับดินทุกชนิด เดิมใช้ต้นส้มเช้าซึ่งมีลักษณะต้นเหลี่ยม แต่เนื่องจากต้นตอเหลี่ยม ใบจะเหลืองและร่วงง่าย และมักเป็นโรคที่ใบได้ง่าย โดยเฉพาะราสนิม และแคงเกอร์ เมื่อมีการพบต้นส้มเช้าตอกลมโดยบังเอิญแล้วนำมาทดลองเสียบดู ปรากฏว่าหยกเจริญเติบโตได้ดี และเร็ว ประกอบกับพบปัญหาที่ใบน้อยกว่าต้นเหลี่ยม ปัจจุบันจึงนิยมใช้ส้มเช้าต้นกลม

ตัด ยอดต้นส้มเช้า ให้ได้ขนาดสูงประมาณ 7-8 เซนติเมตร แล้วนำมาชำในวัสดุปลูก โดยใช้ดินใบก้ามปู 2 ส่วน แกลบ 1 ส่วน ปุ๋ยคอก 0.5-1 ส่วน มะพร้าวสับเล็ก 0.5-1 ส่วน โดยนำส่วนผสมต่างๆ ผสมให้เข้ากัน รดด้วยวิตามิน บี 1 (อัตราส่วน 4-5 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร) พักไว้ 2-3 วัน ก่อนนำไปใช้ โดยฝังต้นตอลึกประมาณ 0.5 ของกระถาง ในช่วงฤดูหนาวการเจริญเติบโตจะช้ากว่าปกติ จะต้องปักชำต้นตอให้ลึกประมาณ 3/4 ของกระถาง และตัดยอดต้นส้มเช้าให้สูงกว่าปกติ หลังจากนั้นใช้เวลาประมาณ 45-60 วัน ต้นตอจะเจริญสูงขึ้น มีรากและต้นขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับต้นหยกที่นำมาเสียบ และได้ต้นตอสูงประมาณ 12-15 เซนติเมตร เผื่อไว้สำหรับตัดยอดออกอีกประมาณ 1-2 เซนติเมตร ตอนเสียบหยก ปัจจุบันจะมีแหล่งที่ปลูกต้นส้มเช้าเพื่อใช้เป็นต้นตอ โดยใช้ระยะปลูก 1x1 เมตร ต้นส้มเช้า 1 ต้น จะผลิตได้ 20-30 ยอด สามารถตัดได้ทุกเดือน โดยส้มเช้าตอเดิมจะมีอายุให้ตัดยอดได้ประมาณไม่เกิน 5 ปี

2. การเสียบยอด:
ตัดยอดต้นตอส้มเช้า แล้วผ่าต้นตอให้เป็นรูปตัว V หรือรูปลิ่มโดยมีดที่ใช้ต้องคม และควรจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อนผ่า เลือกหยกแม่พันธุ์ที่ต้องการขยายมาเสียบยอด ควรเลือกต้นพันธุ์ที่หยกมีเนื้อใหญ่ สมบูรณ์ ถ้าจะให้ได้คุณภาพดี หยกควรมีลักษณะเป็นรูปพัด ไม่บิดงอ เพื่อจะได้ลักษณะที่ดีมีคุณภาพ และเนื้อหยกพัฒนาได้ดี โดยตัดเนื้อหยกเป็นรูปลิ่ม ขนาดกว้างของเนื้อหยกประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร มาเสียบลงในต้นตอ ซึ่งหยกต้นพันธุ์ขนาดกว้าง 12 เซนติเมตร จะตัดนำไปเสียบยอดได้ประมาณ 8 ชิ้น ขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร จะตัดได้ประมาณ 20 ชิ้น เมื่อเสียบยอดแล้วใช้เชือกฟางมัดให้แน่น โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว เนื้อหยกจะยุบตัวง่าย เนื่องจากการขยายเยื่อเจริญเป็นไปได้ช้า ต้องมัดให้แน่นขึ้นให้กระชับ ไม่ให้อากาศแทรกเข้าได้ แต่ไม่ถึงกับต้องแน่นตึงเกินไป เพราะจะทำให้เนื้อหยกที่เสียบเน่าได้ง่ายเช่นกัน

วิธีการผูกเชือก ให้แน่น ใช้เชือกฟางเส้นเล็กมัดต้นตอให้ชิดด้านใดด้านหนึ่ง นำเชือกอีกด้านหนึ่งดึงขึ้นมาพาดให้ชิดเนื้อหยก แล้วใช้นิ้วชี้กดเชือกที่พาดผ่านเนื้อหยกไว้ พร้อมกับใช้ปลายเชือกอีกด้านหนึ่งพันรอบต้นตอหลายๆ รอบ ตรงบริเวณรอยเชื่อม จากนั้นจึงมัดปลายเชือกทั้งสองเข้าด้วยกันจนแน่น

การเสียบยอดหยก เนื้อใส จะต้องพิถีพิถันมากเป็นพิเศษ ผิวหยกต้องไม่ช้ำ ต้องแต่งเนื้อหยกให้สวย มีดต้องคม เนื่องจากเกิดความเสียหายได้ง่าย จึงไม่สามารถผลิตจำนวนมากได้ แต่ตลาดทั้งในและต่างประเทศต้องการมาก ส่วนใหญ่จะผลิตได้ 10-20% ของผลผลิตทั้งหมด ความสามารถในการเสียบยอดต่อวัน ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง เสียบได้ประมาณ 300-500 ยอด ต่อ 1 คน แล้วแต่ความชำนาญ

เมื่อเสร็จกระบวนการเสียบยอดเรียบร้อยแล้ว นำต้นที่เสียบยอดเรียบร้อยแล้วไปไว้ในตู้อบพลาสติกที่ปิดมิดชิด อบไว้ประมาณ 7-10 วัน หากวันที่ไม่มีแดด หรือแสงแดดน้อยจะเปิดไฟให้ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ได้รับแสง เนื้อเยื่อหยกที่นำมาเสียบจะได้ติดเร็วขึ้น จากนั้นนำไปวางไว้ใต้ตาข่ายพรางแสง 60% จะทำให้เนื้อหยกไม่หยาบกร้าน ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน จึงตัดเชือกที่ผูกออก หรือถ้าไม่อบในตู้พลาสติก เมื่อเสียบยอดเสร็จเรียบร้อยแล้วจะใช้ถุงพลาสติกคลุมแต่ละต้น ใช้ที่เย็บกระดาษเย็บ วางไว้ใต้ตาข่ายพรางแสง 80% ประมาณ 7-10 วัน แล้วแกะถุงพลาสติกออก รอไว้อีกประมาณ 2-3 วัน จึงตัดเชือก แล้ววางไว้ใต้ตาข่ายพรางแสง 80% อีกประมาณ 2 สัปดาห์ จึงค่อยนำออกไปเลี้ยงใต้โรงเรือนตาข่ายพรางแสง 60% ใช้เวลาประมาณ 2 เดือนครึ่ง จะได้ขนาดหยกกว้าง 12-14 เซนติเมตร เรียกว่า size 1 หรือใช้เวลาประมาณ 3 เดือน จะได้ขนาดหยกกว้าง 15-17 เซนติเมตร เรียกว่า size 2

http://www.magnoliathailand.com/webboard/index.php?topic=2210.0;wap2

รูปจากกูเกิล google.com:

Total Pageviews

birdmydog - View my most interesting photos on Flickriver

Popular Posts

Translate

mobilizerthai's shared items

Popular Posts

Blog Archive

Search This Blog

wut do you favor on top in community future???

ding ding

About Me