follow

Wednesday, 4 December 2013

Long live the king











ประเภท :สื่อภาพ
ประเภทโครงการ :โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ด้าน :โครงการสำคัญและอื่นๆ
ชื่อโครงการ :น้ำพระราชหฤทัยแห่ง สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
ที่ตั้ง :กรุงเทพมหานคร
วันที่ :ไม่ระบุ
วันที่เผยแพร่ :ไม่ระบุ
สถานที่ออกอากาศ :ไม่ระบุ
ที่มาของสื่อ :สํานักราชเลขาธิการ




"ไก่ดำภูพาน"  เป็นสายพันธุ์หนึ่งของ "ไก่ดำ" ปรับปรุงพันธุ์จาก "ไก่ดำ" จาก ประเทศจีน และจดสิทธิบัตรที่กรมทรัพย์สิน ทางปัญญา และขึ้นทะเบียนพันธุ์สัตว์กับกรมปศุสัตว์โดย นายสัตวแพทย์วิศุทธิ์ เอื้อกิ่งเพชร หัวหน้างานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์ ศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านนานกเค้า ต.ห้วยยาง อ.เมือง จ.สกลนคร "ไก่ดำภูพาน" เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีความต้องการในตลาดประเทศจีน ที่มีความเชื่อในสรรพคุณยาของ"ไก่ดำ" ซึ่งมีองค์ประกอบ ขนดำ หนังดำ เล็บดำ เนื้อเทาดำ และกระดูกก็สีเทาดำ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานขึ้น เมื่อพุทธศักราช 2525  เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาอาชีพความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตของปวงชนชาวไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ตั้งอยู่ที่บ้านนานกเค้า ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ห่างอำเภอเมืองไปทางทิศตะวันตกประมาณ 10 กิโลเมตร มีพื้นที่ดำเนินการทั้งหมด 13,300 ไร่ การดำเนินงานแบ่งเป็น พื้นที่พัฒนาการเกษตรประมาณ 2,300 ไร่ พื้นที่เขตปริมณฑลเพื่อการพัฒนาป่าไม้ประมาณ 11,000 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่มีชื่อว่า ป่าภูล้อมข้าวและป่าภูเพ็ก ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ เริ่มดำเนินการตั้งแต่พุทธศักราช 2527 โดยเพิ่มศึกษาค้นคว้าวิจัยทดลองงานพัฒนาการเกษตรที่เหมาะสมแก่ท้องถิ่น และนำออกเผยแพร่เป็นตัวอย่างให้ราษฎรนำไปปฏิบัติ เพื่อพัฒนาอาชีพ ฟื้นฟู และพัฒนาป่าไม้ การปลูกพืชเศรษฐกิจที่ให้ผลเพิ่มรายได้แก่เกษตรกร
 การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ นี้ มีหน่วยราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยร่วมรับผิดชอบ เช่น กรมชลประทาน กรมป่าไม้ กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น
กิจกรรมของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ครอบคลุมทุกด้านที่มีผลต่อการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมอันเหมาะสมแก่สภาพพื้นที่ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในพื้นที่ ได้แก่
1.งานชลประทาน สร้างแหล่งเก็บกักน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำห้วยตาดไฮใหญ่ อ่างเก็บน้ำห้วยเดียก ฝายกักเก็บน้ำจากต้นน้ำลำธาร แนะนำการจัดระบบส่งน้ำและการใช้น้ำแก่เกษตรกร
2.งานศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรม ศึกษาทดลองวิธีการที่ได้ผลในการเพิ่มผลผลิตและรายได้ เช่น ศึกษาทดสอบเลือกสายพันธุ์ข้าว พืช และไม้ผลที่เหมาะสมแก่สภาพพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ข้าว พืช และไม้ผลที่เหมาะสมแก่สภาพพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ข้าว พืชไร่ พืชสวน เป็นต้นว่า เงาะ ลำไย ทุเรียน น้อยหน่า หม่อนไหม ยางพารา เห็ด การจัดระบบการทำฟาร์ม การศึกษาวิธีแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร
3.งานศึกษาและพัฒนาป่าไม้ อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ที่ทรุดโทรม ปลูกและบำรุงป่าธรรมชาติ ส่งเสริมการปลูกป่าทดแทน ส่งเสริมการปลูกหวายดง ไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ ตลอดจนการเพาะเลี้ยงครั่ง ควบคุมและป้องกันไฟป่า
4.งานส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการประมง ศึกษาทดลองและพัฒนาการประมงน้ำจืด ส่งเสริมการเลี้ยงปลาบ่อ และในกระชังในอ่างเก็บน้ำ
5.งานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์ ปรับปรุงทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ศึกษาและทดลองการเลี้ยงสัตว์ การผลิตอาหารสัตว์ เช่น ส่งเสริมการปลูกกระถินเป็นรั้วบ้าน ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วฮามาต้า การจัดการด้านการเลี้ยงสัตว์ และวิธีแก้ปัญหา เช่น การป้องกันและกำจัดโรคของสัตว์
6.งานศึกษาและพัฒนาปรับปรุงบำรุงดิน อนุรักษ์ดินและน้ำวิจัยทดสอบ ถ่ายทอดความรู้แก่ราษฎรเพื่อให้พัฒนาที่ดินให้เกิดประโยชน์
7.งานส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน แนะนำฝึกอบรม ส่งเสริมความรู้ด้านอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น การตีเหล็ก ผลิตมีด และเครื่องมือเกษตร ฝึกอบรมย้อมสีด้าย ทอผ้า เพื่อให้ราษฎรทำเครื่องใช้ในครัวเรือนเป็นการประหยัด หรือเป็นอาชีพเสริมเพิ่มพูนรายได้
8.งานส่งเสริมการเกษตร นำความรู้ด้านเกษตรที่ศึกษาทดลองได้ผลเป็นที่พอใจแล้ว เผยแพร่แก่เกษตรกรให้นำไปปฏิบัติด้วยตนเอง
9.งานศึกษาและพัฒนาหมู่บ้านตัวอย่าง จัดระเบียบชุมชนและพัฒนาคุณภาพชีวิตตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน จัดตั้งและพัฒนาองค์กรประชาชนในหมู่บ้านรอบศูนย์
10.งานฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ถ่ายทอดความรู้ด้านเกษตรกรรมแก่ราษฎรในหมู่บ้านรอบศูนย์ และราษฎรในจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้นำความรู้ไปพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต

กว่าจะมาเป็น ไก่ดำภูพาน”
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้พัฒนาสายพันธุ์ "ไก่ดำภูพาน" ขึ้นมาโดยเริ่มต้นจากการรวบรวม "ไก่ดำ" ลูก ผสมที่มีอยู่ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ที่หลงเหลือจากการนำเข้าจากประเทศจีนเมื่อประมาณ 15-20 ปีที่แล้ว โดยขอจากชาวบ้านจำนวน 5 ตัว มาจัดแผนการผสมพันธุ์และคัดเลือก "ไก่ดำ" สายพันธุ์ดี โดยใช้ระยะเวลา 2 ปี จึงได้ "ไก่ดำภูพาน" ที่ตรงตามลักษณะของ "ไก่ดำ" ทุก ประการ โดยมีลักษณะ คือ ขนดำ หนังดำ หน้าแข้งดำ กระดูกเทาดำ และเนื้อสีเทาดำ จนถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2550 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดำเนินการพัฒนา "ไก่ดำ" สายพันธุ์ภูพานเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยและสามารถขยายผลสู่การเลี้ยง ของเกษตรกรได้แล้ว

คุณสมยศ โคตรธรรม พนักงานสัตวบาล แผนกสัตว์ปีก งานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร เจ้าหน้าที่ผู้ให้ข้อมูล
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ไก่ดำภูพาน
1. ลักษณะพ่อพันธุ์ จะต้องมีรูปร่างสมบูรณ์แข็งแรง อายุตั้งแต่ 9 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี และมีน้ำหนักตั้งแต่ 2.5 กิโลกรัม
2. ลักษณะแม่พันธุ์ จะต้องมีรูปร่างที่สมบูรณ์แข็งแรง อายุตั้งแต่ 7 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี ให้ไข่ชุดละ 10-15 ฟอง เลี้ยงลูกเก่ง มีนิสัยไม่ดุร้ายหรือจิกตีลูกไก่ของตัวอื่น
3. พ่อพันธุ์ไก่ 1 ตัว สามารถคุมฝูงเพื่อผสมพันธุ์แม่ไก่ได้ไม่เกิน 6-10 ตัว และไม่ควรให้คุมฝูงนานเกินไป เพราะจะทำให้เกิดปัญหาเลือดชิดในฝูงได้
การเลี้ยง "ไก่ดำ"   ตามหลักการง่ายๆ คือเกษตรกรต้องเอาใจใส่ดูแลในการเลี้ยง ให้น้ำสะอาดตั้งไว้ให้ "ไก่" กินตลอดทั้งวันและคอยเปลี่ยนน้ำทุกๆ วัน ให้อาหารผสมทุกเช้า-เย็น เพิ่มเติมจากอาหารที่ "ไก่" หากินได้ตามปกติ เช่น ปลายข้าว รำข้าว ปลาป่น ข้าวโพดป่น ข้าวเปลือก กากถั่ว กากมะพร้าว หัวอาหารไก่สำเร็จรูปชนิด เม็ดหรือการให้หัวอาหารไก่สำเร็จรูปผสมลงในรำข้าว ปลายข้าวหรือข้าวเปลือกเป็นวิธีการที่สะดวกที่สุด สามารถหาซื้อได้ง่ายและผสมเองได้ ช่วยให้ "ไก่" เจริญเติบโตเร็ว มีเปลือกหอยป่นและเศษหินตั้งทิ้งไว้ให้"ไก่"กินเพื่อเสริมแคลเซียมและช่วย ย่อย อาหารและให้หญ้าสดใบกระถินหรือผักสดให้ "ไก่" กินทุกวัน

การเลี้ยงดูไก่เล็ก
1.การเลี้ยงไก่ดำภูพานนั้น ใช้การเลี้ยงไก่แบบพื้นบ้าน เป็นการเลี้ยงโดยให้แม่ไก่ทำหน้าที่ในการกกและเลี้ยงลูกเอง จนลูกไก่อายุ 6- 8 สัปดาห์ จึงปล่อยให้ลูกไก่ออกหากินเองแยกจากแม่ไก่
2.ในช่วงสัปดาห์แรก ลูกไก่ยังไม่แข็งแรง ควรใช้สุ่มครอบหรือขังกรงแม่ไก่กับลูกไก่ไว้ โดยให้อาหารและน้ำ หรืออาจแยกลูกไก่นำไปอนุบาลเลี้ยง โดยใช้ไฟฟ้ากกให้ความอบอุ่นแก่ลูกไก่
3.ดูแลความสะอาดภาชนะอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในโรงเรือนและบริเวณใกล้เคียงด้วยน้ำสะอาดและยาฆ่าเชื้อโรคทุกวัน ลักษณะโรงเรือนจะต้องระบายอากาศได้ดี ป้องกันลมโกรกหรือฝนสาด ด้านหน้าประตูเข้าโรงเรือนจะต้องมีอ่างน้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับจุ่มเท้าก่อนเข้า โรงเรือน "ไก่" จะต้องได้รับอาหารและน้ำที่สะอาด ต้องทำการประมาณอาหารในแต่ละวันให้พอดีกับความต้องการของ "ไก่" ไม่ควรเหลือสะสมไว้และน้ำควรเปลี่ยนเช้า เย็น และทุกวัน



การฟักไข่
1.แม่ไก่ดำภูพานจะเริ่มให้ไข่ เมื่ออายุประมาณ 6-8 เดือน ให้ไข่ประมาณ 3-4 ชุด/ปี ชุดละ 10-15 ฟอง/ตัว แม่ไก่เมื่อไข่หมดชุดแล้วก็จะเริ่มฟักไข่
2.ปกติการฟักไข่ตามธรรมชาติแม่ไก่จะเป็นผู้ฟักไข่เอง ก่อนจะให้แม่ไก่ฟักไข่ ควรฆ่าไรและเหาบนตัวไก่ก่อน โดยจับแม่ไก่จุ่มน้ำยาฆ่าไร เหา ทั้งนี้เพื่อป้องกันไร และ เหา รบกวนแม่ไก่ขณะฟักไข่
3.แต่ที่ศูนย์ภูพานนี้จะใช้เครื่องฟักไข่ช่วยในการฟักไข่ เพราะเมื่อถึงเวลาฟักไข่แม่ไก่จะไม่ค่อยกินอาหาร ดังนั้นจึงใช้เครื่องฟักไข่ช่วย เพื่อให้แม่ไก่ไม่โทรมเร็ว และสามารถวางไข่ได้ต่อเนื่องประมาณ 5-6 ชุด/ปี มากกว่าปกติ
4.การฟักไข่นี้จะใช้เวลาเท่ากันทั้งการฟักไข่โดยแม่ไก่ หรือการใช้เครื่องฟักไข่ช่วย คือ ใช้ระยะเวลาในการฟักไข่จนออกเป็นตัวประมาณ 21 วัน
การดูแลด้านสุขภาพแก่ไก่ภูพาน
1. โปรแกรมวัคซีน ฉีดวัคซีนนิวคลาสเซิลให้ไก่ที่อายุ 1 - 3 วัน โดยวิธีการหยอดเข้าตา (ทำซ้ำทุก 3 เดือน)
2. ฉีดวัคซีนหลอดลมอักเสบ สำหรับไก่อายุ 7 วัน โดยวิธีการหยอดเข้าตาหรือจมูก (ทำซ้ำทุก 3 เดือน)
3. ฉีดวัคซีนฝีดาษ สำหรับไก่อายุ 14 วัน โดยใช้เข็มคู่แทงเข้าใต้ปีก (ทำปีละครั้ง)
4. ฉีดวัคซีนอหิวาต์ไก่ สำหรับไก่อายุ 1 เดือน โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณหน้าอกในปริมาณ 1 ซีซี (ทำซ้ำทุก 3 เดือน)

การสุขาภิบาล
1.ดูแลความสะอาดภาชนะอุปกรณ์ต่างๆที่อยู่ในโรงเรือนและบริเวณใกล้เคียงด้วยน้ำสะอาดและยาฆ่าเชื้อโรคทุกวัน
2.ลักษณะโรงเรือนจะต้องระบายอากาศได้ดี ป้องกันลมโกรก หรือฝนสาด ด้านหน้าประตูเข้าโรงเรือนจะต้องมีอ่างน้ำยาฆ่าชื้อสำหรับจุ่มเท่าก่อนเข้าโรงเรือน
3.ไก่จะต้องได้รับอาหารและน้ำที่สะอาด ต้องประมาณอาหารที่ให้ในแต่ละวันให้พอดีกับความต้องการของไก่ ไม่ควรเหลือสะสมไว้ น้ำควรเปลี่ยนเช้า-เย็น ทุกวัน
4.กรณีมีไก่ป่วย ควรแยกไก่ป่วยออกจากฝูง เพื่อป้องกันการระบาดไปยังไก่ตัวอื่น ถ้าไก่ป่วยตายควรเผาหรือฝังซากทันที
5.ช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงหรือมีการเคลื่อนย้าย ไก่อาจป่วยได้ ควรละลายไวตามินให้ไก่กินทั้งฝูง เพื่อให้ไก่แข็งแรงและมีสุขภาพดี
6.ทำการถ่ายพยาธิไก่ทุก 4 เดือน อย่างสม่ำเสมอ
7.ควรมีตู้ยาไว้ประจำฟาร์ม ประกอบด้วยยาปฏิชีวนะ ยาบำรุง และไวตามิน
8.ก่อนนำไก่จากภายนอกเข้ามาเลี้ยง ควรกักดูอาการก่อนอย่างน้อย 15 วัน ก่อนนำเข้ารวมฝูง

กรณีมี "ไก่" ป่วยควรแยก "ไก่" ป่วยออกจากฝูง เพื่อป้องกันการระบาดไปยัง "ไก่" ตัวอื่นในฝูง ถ้า "ไก่" ป่วยตายควรเผาหรือฝังซากทันที ช่วงอากาศเปลี่ยน แปลงหรือมีการเคลื่อนย้าย "ไก่" อาจป่วยได้ ควรละลายไวตามินให้ "ไก่" กินทั้งฝูง เพื่อให้ "ไก่" แข็งแรงและมีสุขภาพดี ทำการถ่ายพยาธิไก่ทุก 4 เดือน อย่างสม่ำเสมอ ควรมีตู้ยาประจำฟาร์ม ประกอบด้วยยาปฏิชีวนะ ยาบำรุง และไวตามิน และก่อนนำ "ไก่" จากภายนอกเข้ามาเลี้ยงควรกักดูอาการก่อนอย่างน้อย 15 วัน ก่อนนำเข้ารวมฝูง

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามได้โดยตรงที่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.ห้วยยาง อ.เมือง จ.สกลนคร โทร. 0-4247-7470 ในวันและเวลาราชการ 

No comments:

Total Pageviews

birdmydog - View my most interesting photos on Flickriver

Popular Posts

Translate

mobilizerthai's shared items

Popular Posts

Blog Archive

Search This Blog

wut do you favor on top in community future???

ding ding

About Me