follow

Friday 3 April 2015

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่อยู่อาศัยและเมืองอย่างยั่งยืน ครั้งที่ ๓ (HABITAT III)


การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่อยู่อาศัยและเมืองอย่างยั่งยืน ครั้งที่ ๓






การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่อยู่อาศัยและเมืองอย่างยั่งยืน ครั้งที่ ๓ (HABITAT III) 
http://www.thaigov.go.th/th/government-th1/item/87154

นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบนโยบายการแก้ไขปัญหา ที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน เนื่องในงานวันที่อยู่อาศัยโลกประเทศไทย 2557 “World Habitat Day Thailand 2014”
วันนี้ (31 ต.ค. 57) เวลา 11.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบนโยบายการแก้ไขปัญหา ที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน เนื่องในงานวันที่อยู่อาศัยโลกประเทศไทย 2557 “World Habitat Day Thailand 2014” ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับสหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ (สอช.) เครือข่ายที่ดินแนวใหม่ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง (คทช.) และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) โดยมีนายพลากร วงศ์กองแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ผู้แทนคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิกแห่งองค์การสหประชาชาติ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารจากส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้นำขบวนองค์กรชุมชนร่วมงานจำนวนประมาณ 500 คน
ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กล่าวรายงานว่า การจัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกประเทศไทย 2557 “World Habitat Day Thailand 2014” ที่คนในเขตเมืองและชนบททั่วโลกจัดงานที่อยู่อาศัย เมื่อวานนี้ (30 ตุลาคม 2557) ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ได้ร่วมกันจัดงานเป็นประจำทุกปี โดยมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 2,000 คน แบ่งเป็นชุดเรียนรู้ว่าด้วยเรื่องกองทุนเมือง ผังตำบล การจับพิกัด การจัดการดินน้ำ ป่า รวมทั้งการบริหาร จะได้นำความรู้และสิ่งต่างๆ ที่เราคิดค้นไปสู่การปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งจากการทำงานร่วมกันในลักษณะของเมืองมาอย่างยาวนาน การทำงานรูปแบบบ้านมั่นคงที่พัฒนาไปสู่การทำทั้งเมือง การพัฒนาเรื่องอาชีพ กองทุนเมือง และการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน พร้อมข้อเสนอต่อรัฐบาลว่า จะทำอย่างไรที่จะให้การเคลื่อนตัวขนาดใหญ่ของเมืองเป็นวาระสำคัญของการพัฒนาประเทศ
ส่วนชนบทนั้น ได้มีการจัดทำเรื่องที่ดินทำกิน สวัสดิการชุมชน ประมาณ 6,000 ตำบล เศรษฐกิจและทุนนำร่องประมาณ 300 ชุมชน ขณะเดียวกันทั้งขบวนเมืองและที่อยู่อาศัย พยายามรวมเป็นโครงสร้างชุมชนท้องถิ่นที่เข้มแข็ง ซึ่งชาวบ้านได้ทำมาอย่างต่อเนื่อง และได้ทำเป็นสาระสำคัญสู่การปฏิรูปขบวนการภาคประชาชนที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้มีการร่วมมือกับท้องที่ ท้องถิ่น หน่วยงานภาคีในระดับพื้นที่และระดับนโยบาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพชีวิต คนในชุมชน และเกิดพลังในการเปลี่ยนแปลง คือการทำอย่างไรให้เป็นเนื้อหาเชิงนโยบายของประเทศต่อไป
จากนั้น นายสมบูรณ์ สิ่งกิ่ง ผู้แทนขบวนองค์กรชุมชน ได้มอบข้อเสนอที่มาจากการรับฟังเสียงสะท้อนจากฐานล่าง ที่ผ่านการสังเคราะห์เห็นชอบร่วมกัน ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้รัฐบาลประกาศนโยบายการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกิน โดยชุมชนท้องถิ่น เป็นวาระแห่งชาติ
2. ขอให้แก้ไขระเบียบการใช้ที่ดินของรัฐ เพื่อให้ชุมชนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐ การใช้ที่ดินรัฐรองรับการแก้ไขปัญหา ที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาการขาดแคลนที่ดิน และที่อยู่อาศัยของคนยากจน โดยใช้แนวทางกรรมสิทธิ์ร่วมของชุมชน
3. ให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการการแก้ไขปัญหาที่ดิน และที่อยู่อาศัยระดับจังหวัด ให้คณะกรรมการประกอบด้วย ชุมชน ท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ประชาสังคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับจังหวัด เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจสู่ระดับพื้นที่จังหวัด เพื่อรองรับคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินและที่อยู่อาศัยระดับชาติ
4. จัดให้มีกองทุนสนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน แก่กองทุนระดับตำบล เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายกระจายอำนาจ และใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการแก้ไขปัญหา
5. สนับสนุนการแก้ไขปัญหาและวางแผนการจัดการทรัพยากร โดยใช้รูปแบบการจัดการที่อยู่อาศัยและการจัดการที่ดินแนวใหม่ ที่เน้นการมีส่วนร่วมของคนในเมืองและชุมชนท้องถิ่น เพื่อความยั่งยืน
6. ขอให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณในการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกินของพี่น้องคนจนอย่างต่อเนื่อง และงบประมาณที่สนับสนุนขอให้งดเว้นการจัดเก็บภาษีตามกฎหมายภาษีอากร
โอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรี ได้มอบโล่รางวัลผลงานดีเด่น ในการสร้างความร่วมมือการจัดการที่ดินและที่อยู่อาศัย ประเภทบุคคล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ว่าราชการจังหวัด และมอบโฉนดที่ดินจากการแก้ไขปัญหาที่ดินบริเวณอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี พร้อมมอบนโยบายการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินว่า พร้อมที่จะรับข้อเสนอและนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้ทราบว่ามีการนำเสนอเป็นประจำทุกปี แต่ไม่ทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ในปีนี้ผมจะนำไปเสนอต่อนายกรัฐมนตรี อาจจะไม่เกิดขึ้นทั้งหมดตามที่คาดหวัง แต่รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนในเรื่องนี้ พร้อมได้มีข้อแนะนำ คือ หัวข้อที่พูดถึงการแบ่งปันที่ดินของรัฐ การใช้คำนี้ทำให้น่าตกใจโดยเฉพาะผู้ที่ดูแลทรัพย์สมบัติของรัฐ ซึ่งต้องเรียกว่าการมีส่วนร่วมในที่ดินของรัฐ ดีกว่าการแบ่งปันที่ดินของรัฐ
                  รายงานคุณภาพชีวิตของคนไทย จำนวน ๑ ชุด
                    ประกอบด้วย
                   ๑.หนังสือ ๑ เล่ม
                    ๒.แผ่น ซีดี เนื้อหารวม ๑ แผ่น
                    ๓. และ แผ่นซีดี ๑ แผ่น ในส่วนที่เป็นเนื้อหาที่สอดคล้องกับข้อมูลที่จะนำไปใช้ในการประชุม
โดย ในหนังสือ ฯ เนื้อหาสำคัญที่เกี่ยวข้องคือ
                      ๑.หน้า ก ถึง ซ โดยในหน้า ช ข้อ ๒.๘ ปัญหาในภาพรวมประเทศที่ควรได้รับการแก้ไข ๑๕ ลำดับแรก
                       ๒.หน้า ๑๑๖ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ในส่วนของปัญหาที่พบในสัดส่วนที่สูงเท่าหรือใกล้เคียงกันในเขตเมืองและชนบท









 http://www.rdic.cdd.go.th/
The quality of life in Thailand 1 set.
                    Include
                   1. Book 1
                    2. CD content as one piece.
                    3. CD 1 plate in the body that is consistent with the data that will be used in the conference.
The book's main ideas involved.
                      1. A to C with 2.8 in the last issue in the whole country should be resolved first 15.
                       2. Page 116 Conclusions and recommendations. The problem was not high as or similar in urban and rural areas.

Page 116 Conclusions and recommendations.
                 Considering the quality of life of households from 2533 onwards, or 20 years ago. Compared to the year 2557 found that most households can pass metric BMN. Has a high level of 90 percent to almost all indicators. There is a measure of the basic needs of the Board of Directors and improve the lives of individuals (PCH CH.) Jointly working on the problem until achieving such as malnutrition, contraception, a toilet hygiene. The care of pregnant women before / after birth. To receive updated information Health insurance, etc.
                 For the year 2557, considering the severity of the problems in rural and urban areas were found to be the same and differ. Problems found in a high proportion equal or close to urban and rural areas were not breastfed 6 months from birth binge children finished high 3 did not study grammar. 4 equivalent and household clutter is. hygienic condition Problems encountered in urban areas than are graduates of Education, compulsory nine-year-old who did not study. And no work has been training people aged 60 years and above have a full career and income, savings, aged 15-60 years of no occupation, and income. Eating unhealthy food safety and quality. Medication for treatment Initial symptoms not to be disturbed by the pollution. The lack of public involvement activities. And non-religious practice. The problems encountered in rural areas than are non-smoking and annual health check for screening the risk of disease.
              Subject to special interests The development is worse compared to a year ago, including the lack of career and income of people aged 15-60 years. And no occupation and income of people aged over 60 years to complete.
               If the agency adopted the metric of 15 indicators was successful quality of life in Thailand, the 15-story better. As a result, the overall quality of life in Thailand is high in all the indicators.
หน้า ๑๑๖ บทสรุปและข้อเสนอแนะ                                                                                                                    
                 เมื่อพิจารณาผลการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของครัวเรือนตั้งแต่ ปี 2533 เป็นต้นมา หรือ20 กว่าปี ที่ผ่านมาแล้ว เปรียบเทียบกับปัจจุบัน ณ ปี 2557 พบว่าครัวเรือนส่วนใหญ่ สามารถ ผ่านเกณฑ์ชี้วัด จปฐ . ได้ ในสัดส่วนที่สูง ระดับร้อยละ 90 ขึ้นไป เกือบครบทุกตัวชี้วัด มีตัวชี้วัดความจำเป็นพื้นฐานหลายเรื่องที่คณะกรรมการอำนวยการงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน  (พชช.) ได้ร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหาจนกระทั่งบรรลุเป้าหมายแล้ว เช่น การขาดสารอาหาร การคุมกำเนิด การมีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ การดูแลหญิงตั้งครรภ์ก่อน/หลังคลอด การได้รับข้อมูลข่าวสาร การมีหลักประกันสุขภาพเป็นต้น
                 สำหรับ ปี2557 เมื่อพิจารณาความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้นในเขตชนบทและเขตเมือง พบว่า มีส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกันดังนี้ ปัญหาที่พบในสัดส่วนที่สูงเท่าหรือใกล้เคียงในทั้งสองเขต ได้แก่ การไม่ได้รับนมแม่ 6 เดือนตั้งแต่แรกเกิด การดื่มสุรา เด็กจบ ม. 3 ไม่ได้เรียนต่อ ม. 4 เทียบเท่า และการจัดบ้านเรือนไม่เป็นระเบียบถูกสุขลักษณะ ปัญหาที่พบในเขตเมืองมากกว่า ได้แก่ เด็กจบการศึกาภาคบังคับ 9 ปี ที่ไม่ได้เรียนต่อ และยังไม่มีงานทำไม่ได้รับการฝึกอบรมอาชีพ คนสูงวัย อายุ 60 ปีเต็มขึ้นไป ไม่มีอาชีพ และรายได้ การเก็บออมเงิน คนอายุ 15-60 ปีเต็ม ไม่มีอาชีพและรายได้ การกินอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย และได้มาตรฐาน การใช้ยาเพื่อบำบัด  บรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น ไม่เหมาะสม การถูกรบกวนจากมลพิษ การไม่มีส่วนร่วมทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ และการไม่ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา ส่วนปัญหาที่พบในเขตชนบทมากกว่า ได้แก่ การสูบบุหรี่ และการไม่ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อคัดกรองความเสี่ยงต่อโรค
              เรื่องที่ควรสนใจเป็นพิเศษ คือเรื่องที่มีพัฒนาการแย่ลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ได้แก่ การไม่มีอาชีพและรายได้ของคนอายุ15-60ปีเต็ม และการไม่มีอาชีพและรายได้ของคนอายุมากกว่า 60 ปีเต็มขึ้นไป
               หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำปัญหาตัวชี้วัด 15 ตัวชี้วัดนี้ เป็นผลสำเร็จ คุณภาพชีวิตของคนไทยทั้ง 15 เรื่องจะดีขึ้น และส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนไทยในภาพรวมอยู่ในระดับสูงครบทุกตัวชี้วัด


Total Pageviews

birdmydog - View my most interesting photos on Flickriver

Popular Posts

Translate

mobilizerthai's shared items

Popular Posts

Blog Archive

Search This Blog

wut do you favor on top in community future???

ding ding

About Me