follow

Thursday 31 March 2016

PITY TIME...HOW TO HELP THEM?





http://aseanwatch.org/2016/03/29/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-enhancing-asean-sub-regional-labour-cooperation-to-realize-the-sustainabl/
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2559 สถานเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงแรงงานของไทย จัดการสัมมนานานาชาติ “Enhancing ASEAN Sub-regional Labour Cooperation to Realize the Sustainable Development Goals” ณ โรงแรมคอนราด กรุงเทพฯ โดยมีผู้แทนจากองค์การระหว่างประเทศ หน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงาน
งานสัมมนาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของภาครัฐ ภาคธุรกิจ และแรงงานในภูมิภาคอาเซียนในประเด็นเกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายของแรงงานย้ายถิ่นในบริบทประชาคมอาเซียน รวมทั้งมุ่งหาหนทางในการสร้างความร่วมมือด้านแรงงานอย่างยืดหยุ่นและครอบคลุม เพื่อทำให้เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ของสหประชาชาติเป็นจริง ทั้งยังมุ่งสนับสนุนความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างเวียดนามกับไทยอีกด้วย
นายเหงวียน ตั๊ด แถ่ง (Nguyen Tat Thanh) เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศไทยในฐานะตัวแทนของรัฐบาลเวียดนาม กล่าวเปิดงานสัมมนาโดยชี้ให้เห็นความสำคัญของแรงงานย้ายถิ่นต่อภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเวียดนามและไทยในฐานะประเทศผู้ส่งและผู้รับตามลำดับ ล่าสุด ไทยและเวียดนามเพิ่งลงนามในบันทึกความตกลงว่าด้วยแรงงานย้ายถิ่นระหว่างทั้งสองประเทศ อันสะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าในความร่วมมือด้านการจัดการแรงงานระหว่างกัน โดยเขาเห็นว่าความร่วมมือระหว่างรัฐบาลของทั้งสองประเทศจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศและต่อตัวแรงงานย้ายถิ่นเอง ขณะเดียวกัน ความพยายามในการร่วมมือและวิธีการอย่างครอบคลุมของรัฐบาลในอาเซียนและองค์กรระหว่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทบทวนนโยบายระดับภูมิภาค นโยบายระดับประเทศให้ตรงกับเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ
ประเด็นสำคัญของงานสัมมนาครั้งนี้เน้นหนักไปที่ 3 ด้าน ได้แก่ (1) แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการแรงงานที่เกี่ยวโยงกับการกำหนดนโยบายและบทบาทของรัฐบาล องค์กรต่างๆ และภาคธุรกิจในการจัดการแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก (2) ประเด็นความท้าทายของการจัดการแรงงานระหว่างและในหมู่ประเทศกลุ่ม CLMVT (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย) โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างเวียดนามกับไทย และ (3) การแก้ไขปัญหาอย่างรอบด้านและยั่งยืนเพื่อยกระดับความร่วมมือแบบทวิภาคีและอนุภูมิภาค
สำหรับประเด็นที่น่าสนใจในงานสัมมนาครั้งนี้ เริ่มต้นจากนายเดวิด ลามอตต์ ผู้แทนจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้เล่าประสบการณ์การทำงานด้านแรงงานย้ายถิ่นและชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของภาครัฐและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ในการดูแลสิทธิและคุณภาพชีวิตของคนกลุ่มนี้ซึ่งเป็นกำลังการผลิตหลักของหลายประเทศ เขาชี้ให้เห็นว่าเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการย้ายถิ่นของแรงงาน แต่การจะดูคุณภาพชีวิตและสวัสดิการของพวกเขาจำต้องอาศัยการลงมือปฏิบัติของทุกภาคส่วนในทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้กำหนดนโยบายในแต่ละประเทศควรตระหนักถึงความเปราะบางในชีวิตของแรงงานย้ายถิ่นเหล่านี้ให้มาก
นางเมกา อิเรน่า จากสำนักงานเลขาธิการอาเซียน อธิบายถึงความเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติกับเป้าหมายของอาเซียนที่ปรากฏในพิมพ์เขียวของประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน เธอชี้ให้เห็นภาพรวมของการย้ายถิ่นแรงงาน โดยแรงงานย้ายถิ่นส่วนใหญ่เป็นแรงงานทักษะต่ำหรือทักษะปานกลาง และมักเป็นแรงงานนอกระบบ ซึ่งเป็นคนที่ไม่ค่อยได้รับการพูดถึงและไม่ค่อยปรากฏในเอกสารสำคัญๆ ของอาเซียนนัก เมื่อเปรียบเทียบกับแรงงานมีทักษะ ซึ่งเป็นเพียงร้อยละ 1 ของแรงงานที่ย้ายถิ่นจริงๆ ในภูมิภาค การเพิกเฉยต่อแรงงานย้ายถิ่นทักษะต่ำเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ปัญหาต่างๆ ในแง่สวัสดิการและความเหลื่อมล้ำดำรงอยู่ต่อไป นอกจากนี้ เธอยังกล่าวถึงความคืบหน้าล่าสุดของอาเซียนในการส่งเสริมความร่วมมือที่เกี่ยวกับการจัดการแรงงานและกล่าวถึงอุปสรรคบางประการที่ทำให้ความร่วมมือดังกล่าวคืบหน้าไปได้อย่างล่าช้า
สุดท้าย นางมาเรีย โมตุส จากองค์การองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ได้ฉายภาพให้เห็นถึงความจำเป็นของการย้ายถิ่นและแรงงานและระบุว่าเราต้องมองแรงงานย้ายถิ่นในฐานะที่สิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้และพึงปรารถนา มองเห็นประโยชน์ร่วมกันของตัวแรงงานและประเทศที่แรงงานเหล่านั้นอพยพเข้ามาทำงาน ซึ่งหมายถึงการเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ เอง เธอชี้ให้เห็นถึงปัญหาของการจัดการแรงงานย้ายถิ่นที่ผ่านๆ มา อาทิ การใช้เวลาและทรัพยากรไปมากในการจัดการบันทึกความเข้าใจ (MoU) แต่ละฉบับ การขาดระบบการจัดหาและติดตามแรงงานย้ายถิ่นที่มีประสิทธิภาพ การค้ามนุษย์ ตลอดจนข้อจำกัดเกี่ยวกับการให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่แรงงานก่อนการเดินทางไปยังประเทศปลายทาง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการคุ้มครองสิทธิและคุณภาพชีวิตของแรงงานเอง ขณะเดียวกัน เธอได้ให้ภาพรวมถึงพัฒนาการล่าสุดในแง่นโยบายแรงงานของชาติสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศ พร้อมเสนอทางออกของปัญหาต่างๆ โดยแต่ละชาติต้องมุ่งเน้นไปที่การบูรณาการแนวทางการจัดการแรงงานระหว่างประเทศเข้ากับนโยบายในระดับชาติและภูมิภาค การส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีและพหุภาคี รวมถึงการขยายความร่วมมือในการรับมือกับประเด็นเกี่ยวกับการย้ายถิ่นต่างๆ

Total Pageviews

birdmydog - View my most interesting photos on Flickriver

Popular Posts

Translate

mobilizerthai's shared items

Popular Posts

Blog Archive

Search This Blog

wut do you favor on top in community future???

ding ding

About Me